category ไข ‘ความลับ’ ของ ‘ความรัก’ ด้วยหลักชีวฯ เรารักกันเพราะอะไร ทำไมต้องนอกใจ และอื่นๆ

Writer : Sam Ponsan

: 30 มกราคม 2560

love-theory-of-biology

ปัญหาเรื่องความรักคือปัญหาของมวลมนุษยชาติที่ต้องเจอกันทุกคน เป็นปัญหาที่มาได้หลายรูปแบบสังเกตได้จากการฟังรายการคลับฟรายเดย์ แต่…ไม่ว่าปัญหาจะเกิดกับใครหรือเพศไหน ทุกปัญหา ทุกการกระทำสามารถอธิบายได้ในเชิงชีววิทยา

ซึ่งผู้ที่ให้คำตอบเราในเรื่องความรักในเชิงชีววิทยา ได้เข้าใจมากที่สุดคนหนึ่งก็คือ ‘รศ.ดร ว่าที่ร้อยตรี เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์’ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งทีมงาน Mango Zero ได้นำข้อสงสัยที่คิดว่าหลายคนก็อยากจะได้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องความรัก ไปพูดคุยกับอาจารย์เพื่อไขความลับที่ว่าด้วยเรื่อง ‘ความรัก’  ในกรอบของชีววิทยา

love-theory-in-biology-1

ทำไมคนเราต้องนอกใจกันด้วย

อ.เจษฎา : เรื่องนอกใจเป็นสิ่งที่อยู่ในใต้จิตสำนึก หรือยีนของมนุษย์มานาน ไม่นานมานี้ผมแปลหนังสือเรื่อง ‘The Selfish Gene’ ของ ‘ริชาร์ด ดอร์กินส์’ ซึ่งพูดถึงยีนเห็นแก่ตัวแล้วอธิบายว่าทำไมมนุษย์ถึงไม่ใช่สัตว์ผัวเดียวเมียเดียว ในอดีตเราเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเภท ‘polygamy’ หรือเป็นสัตว์มีหลายผัวหลายเมียได้

แต่เมื่อมนุษย์มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ศาสนา สิ่งเหล่านี้ก็เข้ามาส่งผลทำให้มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทผัวเดียวเมียเดียวหรือ monogamy ซึ่งมันขัดแย้งกับจิตใจเบื้องลึก หรือยีนของเราเอง กรอบสังคมบอกว่าเราต้องมีผัวเดียวมีเดียว ห้ามมีชู้ แต่ในจิตใจเบื้องลึกของเรากลับบอกว่าเราต้องไปหาตัวเมียเพื่อส่งต่อยีนของตัวเอง

love-theory-in-biology-6-new

‘ผู้หญิงชอบคนดี รักคนเลว แต่งงานกับคนรวย’ อธิบายด้วยหลักชีววิทยาได้ไหม

อ.เจษฎา : มันอธิบายได้ว่าลึกๆ ผู้หญิงอยากคบกันคนที่สามารถปกป้องเราให้อยู่รอดได้ นี่คือสิ่งที่อยู่ในยีนเป็นพื้นฐาน แต่ความรักของผู้หญิงส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปตามวัย แต่ค่อนข้างคล้ายกัน มองย้อนกลับไปสมัยเด็กๆ ผู้หญิงจะปลื้มรุ่นพี่ที่หล่อและนิสัยดี เพราะเราเชื่อว่าความดีคือที่สุด

แต่พอโตขึ้นเราไม่ได้มองเรื่องความดี เรามองเรื่องคนที่สามารถปกป้องเราได้ ซึ่งก็จะเป็นหนุ่มแบดบอยหรือคนที่มีอำนาจ ดูน่าตื่นเต้น แต่สุดท้ายเมื่อโตขึ้นผู้หญิงจะลดเรื่องสเปคสามารถพึ่งพาได้ทั้งชีวิตด้วยเหตุผลทางพันธุกรรมในเรื่องการถ่ายทอดยีนไปสู่ลูก ผู้หญิงอยากคบกับคนที่สามารถปกป้องเขา และลูกของเขาให้อยู่รอดได้ สรุปสิ่งที่ทำให้เราสามารถอยู่รอดได้ก็คือเงินชัดๆ (หัวเราะ)

love-theory-in-biology-3

การมีความรักอธิบายในกรอบของชีววิทยาได้อย่างไร แบบไหนที่เรียกว่ารักกัน

อ.เจษฎา : มันพูดยาก เพราะมันมีข้อมูลที่หลากหลาย แต่โดยพื้นฐานของหลักชีววิทยาหากพูดในมุมมองของยีน การเลือกคู่เพื่อสืบพันธุ์เป็นสิ่งที่ยีนบังคับให้เราพยายามที่จะหาคู่ที่สามารถถ่ายทอดพันธุกรรมที่ดีได้ แต่ความที่โลกเปลี่ยนไป เป้าหมายในการมองหาฝ่ายตรงข้ามก็เปลี่ยนไป

สมัยนี้เราอาจจะชอบผู้หญิงที่หน้าตาขาวสวย แต่ลึกๆ แล้วจิตใต้สำนึกเราบอกว่าสิ่งพื้นฐานที่เราต้องการก็คือผู้หญิงที่อวัยวะครบ 32 มีหน้าตาที่พึงใจ มันเป็นการแสดงให้เห็นว่ากรอบพันธุกรรมของเราทั้งสองคนไม่หนีกันมาก

love-theory-biology-4

เคยได้ยินคำว่า ‘เนื้อคู่กันหน้าจะเหมือนกัน’ สิ่งสามารถอธิบายในกรอบชีววิทยาได้ไหม

อ.เจษฎา : ลึกๆ มนุษย์เลือกคู่ครองจากคนที่หน้าตาคล้ายกันหรือกระทั่งมีอะไรบางอย่างที่คล้ายกัน สังเกตสิว่าคนที่ชอบอะไรคล้ายกันมักจะคุยกันรู้เรื่องและอยู่กันยืด ถ้ามองในเชิงของยีนก็จะพบว่ากลุ่มคนที่โครงสร้าง รูปร่างหน้าตาคล้ายกันก็พอที่จะโน้มน้าวให้เราเชื่อได้ว่าเราเป็นพวกเดียวกันโดยอัตโนมัติ

แต่เรื่องของสภาพสังคมปัจจัยต่างๆ จึงมีการแต่งงานข้ามชาติเป็นเรื่องปกติ เพราะมันมีกรอบทางสังคมบางอย่างที่ใหญ่กว่ามาครอบจิตใต้สำนึกของยีนไว้

love-theory-in-biology-5

การที่เราชอบคนสวย ชอบคนหล่อ ชอบคนเข้มใครเลือก ยีนหรือเรา

อ.เจษฎา : ชาลส์ ดาร์วิน เคยอธิบายเรื่องการเลือกคู่ของมนุษย์ว่า การเลือกคู่ของมนุษย์ก็คือการแข่งขันกันเองซึ่งธรรมชาติเป็นคนกำหนดสเปคคร่าวๆ ให้ สเปคโดยพื้นฐานของมนุษย์เพศหญิงคือยากได้ผู้ชายที่ร่างกายกำยำ เข้มแข็ง ปกป้องเราได้ สามารถออกไปหาอาหารเลี้ยงดูเราและลูกได้

ส่วนผู้ชายเองก็จะชอบผู้หญิงที่หน้าอกใหญ่ สะโพกผายไม่ใช่เรื่องลามก แต่มองในเรื่องของกรอบพันธุกรรมจะพบว่าสิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นในเรื่องการการเจริญพันธ์ล้วนๆ แต่ปัจจุบันด้วยวิถีของสังคมทำให้ยีนถูกครอบด้วยสิ่งต่างๆ สเปคความชอบของผู้หญิงและผู้ชายก็แตกต่างกันออกไป แต่ลึกๆ สังเกตดูสิผู้ชายก็ยังชอบมองผู้หญิงที่หน้าอกใหญ่ ไม่งั้นเพจ Cup E คงไม่ดัง (หัวเราะ)

love-theory-in-biology-2

ความเจ้าชู้อยู่ใน DNA ไม่ใช่คำพูดประชด แต่เป็นเรื่องจริงใช่ไหม

อ.เจษฎา : จะเรียกว่าอย่างนั้นก็ได้ ความเจ้าชู้คือสิ่งที่ตกทอดอยู่ใน DNA มนุษย์มาตั้งนาน แต่อย่างที่บอกว่าวัฒนธรรม ความเชื่อ และคำสอนคือสิ่งที่เอามากดทับสัญชาตญาณดั้งเดิมที่อยู่ในยีนของมนุษย์ ทำให้เรามีการยับยั้งชั่งใจในการเลือกคู่ แต่บางวัฒนธรรมในโลกนี้ก็ยังมีการผ่อนปลนให้ผู้ชายมีเมียมากว่าหนึ่งคนอยู่ โดยอาจในรูปแบบคำสอนของศาสนา

love-theory-in-biology-7

ก่อนเลิกกันมักได้ยินคำว่า ‘เธอเปลี่ยนไป’แต่จริงๆ คือเบื่อ ทำไมเราถึงเบื่อกัน

อ.เจษฎา : อธิบายยากว่าความเบื่อของมนุษย์เป็นเพราะอะไร แต่ในหลักชีววิทยาสามารถอธิบายได้ว่าทำไมเวลาผู้ชายมีเซ็กส์แล้วถึงเบื่อคู่ของตัวเองแล้วมองหาคู่ใหม่ ย้อนกลับไปเรื่องเดิมคือเราโดนโปรแกรมมาจากยีนว่าเราต้องถ่ายทอดยีนของเราต่อไปเรื่อยๆ

เมื่อเพศผู้มีการสืบพันธ์สำเร็จหน้าที่ต่อไปคือไปหาเพศเมียตัวอื่นต่อเพื่อสืบพันธ์ สังเกตไหมว่าผู้ชายที่อายุมากๆ ก็ยังชอบสาวๆ วัยรุ่นอยู่ดี เพราะวัยรุ่นสื่อถึงวัยเจริญพันธ์ มีแนวโน้มว่าสามารถสืบเผ่าพันธ์ุได้

love-theory-in-biology-8

ที่ผู้หญิงไม่รับรักเราก็เพราะยีนเธอบอกว่าเราไม่คู่ควรใช่ไหม

อ.เจษฎา : เมื่อไหร่เราไม่เข้าเกณฑ์ตามหลักชีววิทยาที่ผู้หญิงตั้งเกณฑ์ไว้ไม่ว่าจะเป็นความแข็งแรง หน้าตา หรือฐานะ ซึ่งสื่อว่าจะสามารถดูแลลูกเขาได้ในอนาคตได้ไหม มันก็ไม่ผ่านอยู่แล้ว เราก็ต้องไปหาคนที่พร้อมจะรับเกณฑ์เราได้ มันถึงได้มีคำพูดที่บอกว่า ‘รักคนที่เขารักเราดีกว่า’ (หัวเราะ)

love-theory-in-biology-9

ทำไมตอนอกหักเราถึงเจ็บที่อก แทนที่จะเจ็บที่ใจ

อ.เจษฎา : ค่อนข้างพูดยากเพราะสิ่งนี้อยู่นอกกรอบของพันธูกรรม แต่ผมเชื่อคนที่เคยอกหักจะรู้สึกว่ามันหวิวๆ เจ็บๆ ที่แถวหน้าอกใช่ไหม อาการนี้สามารถอธิบายได้ว่าฮอร์โมนความเครียดหรือ ‘คอร์ติซอล’ หลั่งออกมาจากสมอทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติ

จริงๆ ฮอร์โมนความเครียดทำงานไปทั่วร่างกายนี่แหละ แต่สิ่งแรกที่เราจะรู้สึกก่อนคือท้องกับหน้าอกจะหวิวๆ หัวใจเต้นแรงเมื่อรู้ว่าเราผิดหวังมื่อเเราเกิดความเครียดที่ผิดหวัง คอร์ติซอลก็หลั่งออกมาจากสมองแต่ส่วนแรกที่เรารู้สึกเลยก็คืออาการหวิวๆ ที่หน้าอกและหัวใจสั่น เราเลยนิยามอาการนี้ว่าอกหัก

love-theory-in-biology-10

ทำอย่างไรเราถึงจะลืมรักที่ผิดหวังได้

อ.เจษฎา :  รักที่ผิดหวังมันลืมได้นะ คนที่บอกว่าลืมไม่ได้นี่แสดงว่ายังไม่เคยลองลืม ส่วนการลืมรักครั้งเก่านั้นไม่ใช่ว่าไปนั่งสมาธิ เข้าวัด ทำบุญ ไม่หายแน่นอน สิ่งที่จะช่วยเยียวยาความผิดหวังมีแค่เรื่องเดียวคือหารักใหม่ (หัวเราะ)

อย่าจมปลักกับความทุกข์ และการที่เราผิดหวังบ่อยๆ ก็เหมือนกับเรามีวัคซีนเป็นภูมิคุ้มกันความผิดหวังจากการอกหักนี่แหละ อกหักบ่อยๆ เดี๋ยวก็ชิน

 

Writer Profile : Sam Ponsan
นักเขียนหนุ่มสุดเท่ที่ชื่นชอบการขี่มอเตอร์ไซค์เป็นชีวิตจิตใจ ขนาดฝนตกยังยอมขี่รถตากฝนเลยเพราะคิดว่าทำแล้วเท่ งานอดิเรกของเขาคือการไปออกกำลังกายเพราะเชื่อว่าทำแล้วเท่ ปัจจุบันก็ยังชอบทำ Content อะไรเท่ๆ ลงเว็บ Mango Zero ด้วย แหม่...เท่จริงๆ
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save