อาการนอนกรนนั้นเป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่ผู้ชายเป็นมากกว่าผู้หญิง และเป็นปัญหาใหญ่ของชีวิตคู่ ซึ่งการนอนกรนนั้นไม่ใช่อาการที่จะปล่อยผ่านให้เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ควรจะทำการรักษาให้หายขาดไปเลย เพราะการนอนกรนไม่เพียงแต่ทำให้คนข้างๆ รำคาญถึงขั้นไล่เราไปนอนห้อนอื่นอย่างเดียว แต่ยังเป็นอันตรายต่อคนที่กรนในระยะยาวด้วย เพราะการกรนทำให้เราอ่อนเพลียเนื่องจากนอนไม่พอหลับไม่สนิท ไปจนถึงเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ แต่ก่อนจะไปถึงวิธีการรักษา เราจะพาไปรู้จักกับการนอนกรนก่อน ซึ่งแยกออกมาได้ 2 รูปแบบก่อน โดยการกรนในลักษณะต่างๆ มีดังนี้ กรนธรรมดา: อาการกรนที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปคนที่เป็นจะไม่ได้ร้ายแรงมาก แต่ทำให้คนข้างๆ รำคาญ ภาวะก้ำกึ่งระหว่างกรนธรรมดาและกรนอันตราย หรือ กรนอันตราย ซึ่งทั้งสองอาการนี้ถือว่ามีความน่ากลัวมากเนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสสูงมากที่จะเกิด โรคความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด หรือเกิดอาการหยุดหายใจระหว่างหลับ โดยการจะรู้ว่าเราเป็นคนนอนกรนในลักษณะไหน วิธีที่ชัดเจนที่สุดคือการไปการตรวจการนอนหลับ หรือใช้การส่องกล้องเข้าไปดูหลอดลม แต่อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่รู้ตัวว่าตัวเองกรนจากเดิมที่ไม่เคยกรนมาก่อน หรือเพิ่งเริ่มต้นกรนได้ไม่นาน แล้วอยากจะลองรักษาด้วยตัวเองก่อนโดยไม่ผ่าตัด เรามีวิธีรักษาอาการกรนเบื้องต้นมาแนะนำ อยากรักษาตัวเองด้วยวิธีไหนเลือกเลย ลดน้ำหนักให้อยู่ในจุดมาตรฐาน สำหรับคนที่มีอาการกรนทั้งที่เมื่อก่อนไม่เคยกรนมาก่อนเลย หรืออาจจะกรนแต่น้อยมากๆ นั้นมีโอกาสสูงมากที่ต้นเหตุของการกรนจะมาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าน้ำหนักของเราเพิ่มขึ้นจริงๆ จากดัชนีมวลกายรวมซึ่งสังเกตได้ชัดว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงจริงๆ แนะนำให้ลดน้ำหนัก โดยความอ้วนนั้นจะมีผลอย่างมากต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากคนที่น้ำหนักเกินจะมีมีไขมันมาพอกรอบคอ หรือทางเดินหายใจส่วนบน เป็นเหตุให้ทางเดินหายใจส่วนบนแคบลงจนการหายใจทำได้ยาก ซึ่งวิธีแก้เบื้องต้นคือลดน้ำหนัก แล้วลดไขมันบริเวณดังกล่าวจะหายไปและอาการนอนกรนจะลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งถ้าลดลงน้ำหนักลงได้ 10% ของน้ำหนักที่เกินเกณฑ์ไป การนอนกรน รวมถึงอาการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับจะลดลง 30% มีวิธีคำนวณนำหนักสูงสุดของผู้ป่วยเพื่อดูว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือยังคือ [23 x (ส่วนสูงเป็นเมตร) x (ส่วนสูงเป็นเมตร)] = จะได้เท่ากับน้ำหนักมาตรฐานที่เราไม่ควรเกินไปกว่านี้ สมมติผู้เขียนสูง 175 เซ็นติเมตร เราก็ต้องคำนวณตามสูง [ 23 x 1.75 x 1.75 ] = 70.43 กิโลกรัม นั่นคือน้ำหนักสูงสุดของเรา และไม่ควรเกินมากกว่านี้ถ้าไม่อยากนอนกรน ออกกำลังกายเป็นประจำเฉลี่ย 4 ครั้งต่อสัปดาห์ คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจะไม่ค่อยประสบปัญหาการนอนกรนเนื่องจากร่างกายมีความแข็งแรง รวมถึงระบบหายใจก็ดแข็งแรงกัน โดยการออกกำลังกายที่แนะนำให้คนที่นอนกรนทำคืือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดการหายใจ และออกแรงอย่างต่ออย่างน้อย 30 นาทีเพื่อที่จะได้บริหารกล้ามเนื้อส่วนคอหอยทำให้ทางเดินหายใจที่หย่อนหรืออุดตันลดลง กีฬาที่แนะนำและสามารถทำได้เลยก็อย่างเช่น ฟุตบอล, วิ่ง, ว่ายน้ำ, เดินเร็ว, ปั่นจักรยาน, แบดมินตัน และกีฬาอื่นๆ ที่ทำแล้วหายใจได้เร็วและถี่ อัตราการเต้นของหัวใจเฉลี่ย 120 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป (ต้องเต้นอย่างต่อเนื่อง) หากทำเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาการนอนกรนก็จะหายไปพร้อมกับได้ร่างกายที่ฟิตและเฟิร์มกลับมาได้ โดยความถี่ที่ควรทำเป็นประจำคือ 3 – 4 ครั้งต่อสัปดาห์ ปรับท่านอน แก้การกรนได้ชั่วคราว การนอนกรนมีสาเหตุหลักมาจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนตีบแคบ เนื่องจากช่วงที่เรานอนหลับสนิทนั้น กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในช่องปากจะผ่อนคลายแล้วค่อยๆ หย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งคนทั่วไปจะไม่มีปัญหาเนื่องจากไม่มีปัจจัยไปทำให้การหายใจระหว่างนอนติดขัด แต่คนที่มีภาวะนอนกรน การหายใจขณะนอนหลับจะไม่สามารถได้อย่างสะดวก แต่การปรับท่านอนถือเป็นวิธีที่ช่วยได้อย่างมาก โดยวิธีการปรับท่านอนให้ถูกต้องคือ นอนบนหมอนที่ทำให้หัวสูงขึ้นเล็กน้อยและทำมุม 30 องศาจากแนวพื้นราบ เพื่อให้ช่องทางเดินหายใจมีช่องว่างในการหายใจให้อาการไหลผ่านอย่างสะดวก นอนตะแคง แล้วหนุนหมอนให้สูงขึ้นเล็กน้อยเนื่องจากการนอนหงายทำให้ช่องทางเดินหายใจมีพื้นที่ให้อากาศเข้าไปได้อย่างสะดวก แต่การปรับท่าทางการนอนเป็นวิธีการแก้ที่ปลายเหตุมากๆ เพราะอาการนอนกรนไม่ได้หายไปอย่างถาวร เพียงแต่หายไปชั่วคราว วิธีปรับท่าการนอนเหมาะสำหรับคนที่เริ่มรักษาอาการนอนกรน แล้วใช้วิธีการปรับท่านอนเป็นตัวช่วยเสริมควบคู่ไปด้วยกันเท่านั้น ใช้ยาพ่นจมูก ขยายทางเดินหายใจ อีกหนึ่งวิธีการป้องกันแบบเร่งด่วนและชั่วคราวก็คือการใช้ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกวันละครั้ง โดยการพ่นยาจะทำให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น ทำให้อาการกรนลดน้อยลง ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกนั้นคือตัวลักษณะเดียวที่ใช้กับผู้ป่วยกลุ่มอาการภูมิแพ้ หรือป่วยโรคโพรงจมูกอักเสบ แต่อย่างไรก็ตามหากจะหายขาดจากการนอนกรน ผู้ป่วยต้องทำวิธีการอื่นควบคู่ตามไปด้วย และเมื่อหยุดกรนแล้วก็ควรที่จะหยุดยาพ่น ใส่เครื่อง CPAP ระหว่างนอน เพื่อหยุดการกรน การป้องกันการนอนกรนก็มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ช่วยลดหรือป้องกันการนอนกรนที่วางขายโดยทั่วไป ได้มาตรฐาน ป้องกันการนอนกรนและการหยุดหายใจขณะนอนหลับคือ ‘เครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน’ (continuous positive airway pressure) อุปกรณ์นี้มีชื่อย่อว่า CPAP วิธีการใช้งานของเครื่องนี้คือเวลานอนผู้ป่วยจะต้องสวมหน้ากากที่ต่อเข้ากับเครื่องเป่าลมแล้วสามารถนอนหลับไปได้เลย (แต่ในช่วงแรกที่ไม่ชินจะหลับยากสักนิดนึงสำหรับบางคน) จากนั้นลมที่พัดอยู่ในหน้ากากจะเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนบน เพื่อที่จะทำหน้าที่ขยายทางเดินหายใจกว้างขึ้น ทำให้การหายใจไม่ติดขัดระหว่างนอนจึงทำให้ผู้ป่วยไม่มีอาการนอนกรน หรือหยุดหายใจระหว่างนอนกลับ ปัจจุบันเครื่อง CPAP มีขนาดเล็กลง พกพาง่าย ราคาก็ถูกลงเริ่มที่ 19,000 บาทก็สามารถซื้อไว้ติดบ้านได้แล้ว ผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์นี้มักเป็นผู้ป่วยที่น้ำหนักเกินกว่าจะแก้ไขเรื่องน้ำหนักในระยะเวลาอันสั้น รวมถึงผผู้ป่วยที่เคยมีภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับมาก่อน ระหว่างรอให้คนข้างๆ ค่อยๆ รักษาการนอนกรน แก้ปัญหาเสียงดังด้วยโฟมอุดหู ลดความดังของเสียง -> โฟมอุดหู