เพราะเราหลายคนไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ และอีกหลายคนเช่นกันที่ทานอาหารมากเกินพลังงานที่ร่างกายต้องการยิ่งในยุคนี้อะไรก็สะดวกสบายไปหมด จะลุกออกไปไหนทีก็แทบไม่มีโอกาสยิ่งงานรัดตัวด้วยแล้ว วันๆ ก็แทบไม่ได้ก้าวออกจากโต๊ะทำงานเท่าไหร่ แล้วใน 1 วัน กิจกรรมที่เราทำกันเผาผลาญแคลอรี่หรือพลังงานไปเท่าไหร่กันบ้าง มาขยับและออกกำลังให้เพิ่มขึ้นเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงกันเถอะ แคลอรี่ คืออะไร ? แคลอรี่คือหน่วยที่ใช้ในการวัดพลังงาน เราน่าจะเห็นบ่อยๆ ในสลากหลังซองขนม, ข้างกล่องนม หรือบนบรรจุภัณฑ์อาหาร ฯลฯ ที่บอกปริมาณแคลอรี่ของอาหารที่เรากำลังจะรับประทานเข้าไป โดยวัดจาก 1 แคลอรี่ คือปริมาณที่ทำให้น้ำ 1 กรัมมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา สารอาหารที่ให้พลังงาน โปรตีน ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม คาร์โบไฮเดรต ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม ไขมัน ให้พลังงานสูงสุดคือ 9 แคลอรี่ต่อกรัม เราควรได้รับแคลอรี่วันละเท่าไหร่ ผู้ชาย = น้ำหนักตัว x 31 ผู้หญิง = น้ำหนักตัว x 27 7,700 แคลอรี = 1 กิโลกรัม เมื่อเราทำกิจกรรมบางอย่างเราจะเผาผลาญแคลอรีไป เช่นเดียวกันกับที่เราได้รับอาหารก็จะเป็นการเพิ่มแคลอรีให้ร่างกายเช่นกัน ซึ่งน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ของร่างกายเรานั้น มีค่าเท่ากับ 7,700 แคลอรี หรือก็คือหากลดน้ำหนักให้ได้ 1 กิโลกรัม ภายใน 1 อาทิตย์ เราต้องลดประมาณวันละ 1,100 แคลอรี เพื่อที่ในเจ็ดวัน 1,100×7 = 7,700 แคลอรี เมื่อทำต่อเนื่อง 30 นาที **ทั้งนี้การเผาผลาญแคลอรีขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว ,อายุ, ความดัน, ระบบการเผาผลาญ ของแต่ละคนด้วยนะ ยืนต่อแถว 47 แคลอรี นอน 35 แคลอรี ทำกับข้าว 93 แคลอรี ทำงานหน้าคอม 51 แคลอรี อ่านหนังสือ 42 แคลอรี นั่งประชุม 60 แคลอรี ปัดฝุ่น 80 แคลอรี แช่น้ำร้อน 130 แคลอรี นั่งเฉยๆ 29 แคลอรี ยืนคุยโทรศัพท์ 70 แคลอรี กิจกรรมแบบไม่ต้องพยาม ช้อปปิ้ง 243 แคลอรี่ ต่อชั่วโมง แปรงฟัน 5.7 แคลอรี่ ต่อ 2 นาที เผาผลาญมากขึ้นโดยลองปรับพฤติกรรม ขึ้นบันไดแทนลิฟต์ จอดรถให้ไกลขึ้น ใช้เวลาช่วงพักเที่ยงออกไปเดินเล่นบ้าง เดินให้เยอะและเร็วขึ้น วางแผนมื้ออาหาร ขอบคุณที่มา Firstforwoman, Livestrong, Health.Harvard, Heathline, MedThai