คนที่ใช้รถใช้ถนนไม่ว่าจะเป็นมอเตอร์ไซค์หรือรถยนต์ ทุกปีสิ่งที่เราจะต้องไปทำก็คือการต่อภาษี และต่อ พรบ. ซึ่งสำหรับบางคนอาจจะมีความสงสัยต่อป้ายภาษีน่ะเข้าใจ แต่ พรบ. ว่าต่อไปทำไมไม่เคยได้ใช้ประโยชน์สักที เปลืองเงินเปล่าๆ แต่อยากจะบอกว่า พรบ. มีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด เพราะจากประสบการณ์ตรงผู้เขียน มีโอกาสใช้ประกันจาก พรบ. ไปหมาดๆ เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ เลยอยากจะเอามาแบ่งปันให้คนอื่นได้รู้กัน ในวันที่ไม่ต้องใช้ พรบ. ก็ถือว่าดีไปเพราะคุณไม่ได้ประสบอุบัติเหตุ เลยไม่จำเป็นต้องใช้ แต่ถ้าวันหนึ่งมีเหตุต้องใช้จริงๆ คุณจะรู้สึกขอบคุณที่ พรบ. และภาษีไม่ขาดมากๆ พรบ. กับภาษียานพาหนะ ต่างกันอย่างไร ทุกครั้งที่เราไปที่ขนส่งเพื่อต่อภาษียานพาหนะ เราจะต้องจ่ายเงินสองส่วนคือ ส่วนแรกจ่ายเพื่อต่อภาษีประจำปี ราคาก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นยานพาหนะชนิดใด ถ้ามอเตอร์ไซค์ cc น้อยๆ ก็แค่หลักร้อย แต่ถ้าเป็นบิ๊กไบค์ cc สูงก็แพงหน่อย ส่วนรถยนต์ก็แพงตามจำนวนขนาดของเครื่องยนต์เช่นกัน และตอนที่ต่อภาษียานพาหนะ ก็จะได้สิ่งที่เรียกว่า ‘ป้ายภาษี’ ซึ่งมาในรูปแบบของป้ายสี่เหลียมที่ระบุวันหมดอายุไว้ตัวใหญ่ๆ ส่วน พรบ. นั้นคือสิ่งที่บังคับให้ทำควบคู่กับการเสียภาษี โดยต้องมี พรบ. ก่อน ทางกรมขนส่งถึงจะอนุญาตให้ต่อภาษีได้ ราคาของ พรบ. ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของ cc และประเภทของรถ สำหรับ พรบ. นั้นไม่ได้มาในรูปแบบของป้ายใดๆ แต่จะมาในรูปแบบของกระดาษแผ่นหนึ่งที่ระบุเรื่องของกรมทัณฑ์ที่ระบุความคุ้มครองเอาไว้ในกรณีประสบอุบัติเหตุแล้วต้องรักษาพยาบาล โดยเราไม่จำเป็นต้องพก พรบ. ติดตัว แค่แสดงสำเนาทะเบียนรถ ก็มีสิทธิ์ใช่เประกันจาก พรบ. แล้ว พรบ. ทำอะไรได้บ้าง ก่อนอื่นมาดูกันก่อนว่า ทำไมยานพาหนะทุกชนิด กฎหมายถึงบังคับให้ต้องมี พรบ. ด้วยล่ะ จะทำไปเพื่ออะไรในเมื่อรถยนต์เขาก็ทำประกันกันอยู่แล้ว (ส่วนมอเตอร์ไซค์น้อยคนที่จะทำยิ่งรถเล็กยิ่งไม่ทำเลย) อธิบายสั้นๆ ง่ายๆ การทำ พรบ. นั้นก็เหมือนเราซื้อประกันคุ้มครองอุบัติเหตุแบบภาคบังคับที่ทุกคนต้องมี เนื่องจากถ้าปล่อยเสรี ทำหรือไม่ทำก็ได้ เราเชื่อว่าน้อยคนที่จะสมัครใจทำเพราะคิดว่าปลืองเงินทำไปทำไม โดย พรบ. หากทำแล้ว จะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทั้งเรา ผู้โดยสาร รวมไปถึงคู่กรณีด้วย โดยสามารถใช้บริการโรงพยาบาลได้ทุกแห่ง แต่ถ้าไม่มี พรบ. ยามเกิดอุบัติเหตุคนเดือดร้อนที่สุดก็คือเรานั่นเองเพราะเงินค่ารักษานั่นแพงกว่าค่า พรบ. หลายเท่าเลยล่ะ สิทธิประโยชน์ที่ พรบ. จะคุ้มครอง พรบ. มีสิทธิปรโยชน์ที่บางคนอาจจะไม่รู้เพราะไม่เคยใช้ หรืออาจคิดไม่ถึงว่าเราสามารถใช้ได้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าผิดหรือถูก พรบ. จะคุ้มครองทั้งทีโดยเงื่อนไขของการคุ้มครองหรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของ พรบ. แบ่ง เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตามจริงไม่เกินคนละ 30,000 บาท (ไม่ว่าถูกหรือผิด) ซึ่งคุ้มครองทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ (บางโรงพยาบาลก็ไม่ต้องสำรองจ่ายเลย) หากเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือพิการ เบิกได้ 35,000 บาท กรณีที่เป็นฝ่ายถูก สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้สูงสุดคนละ 80,000 บาท กรณีที่เป็นฝ่ายถูก หากเสียชีวิต หรือพิการ จะได้เงินค่าสินไหมทดแทนคนละ 300,000 บาท กรณีที่เป็นฝ่ายถูกแล้วสูญเสียอวัยะจะเบิกค่าสินไหมได้ต่างกันได้แก่ สูญเสียนิ้วได้ค่าสินไหม 200,000 บาท, สูญเสียอวัยะใดก็ได้ 1 ส่วน เช่นแขน หรือข้อมือ ได้รับค่าสินไหม 250,000 บาท และถ้าสูญเสียอวัยะ 2 ส่วนขึ้นไป ได้ค่าสินไหม 300,000 บาท กรณีที่เราเป็นฝ่ายถูกแล้วต้องนอนโรงพยาบาลจะได้รับค่าสินไหมทดแทนวันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน) ไม่คุ้มครองค่าซ่อมรถทุกกรณี ถ้าไม่ต่อ พรบ. และภาษีจะผิดมากไหม หลายคนอาจจะเคยโดนตำรวจจับแล้วปรับเนื่องจากภาษีขาด และพรบ. หมดอายุ ก็อาจจะงงว่า อะไรวะลืมต่อภาษี ลืมต่อพรบ. มาแค่ 3 เดือนเอง ทำไมต้องให้ใบสั่งด้วย คำตอบก็คือยานพาหนะทุกประเภทที่ใช้ถนนต้องเสียภาษีให้กับภาครัฐอยู่แล้ว เนื่องจากเรามีส่วนในการใช้สาธารณูปโภคที่รัฐฯ สร้างให้ ดังนั้นเราก็ต้องมีส่วนช่วยในการจ่ายค่าบำรุงรักษา รวมถึงการทำ พรบ. ก็เป็นความรับผิดชอบต่อสังคมขั้นพื้นฐานในการรับผิดชอบชีวิตตัวเองและผู้อื่น ดังนั้นถ้าภาษีขาด และ พรบ. ไม่มี ก็มีความผิด โดยอัตราโทษของคนที่ละเลยได้แก่ ถ้า พรบ. ขาด จะเบิกค่ารักษาพยาบาลอะไรไม่ได้เลย ต้องจ่ายเองล้วนๆ (ดังนั้นอย่าปล่อยให้ขาด) ถ้า พรบ. ขาดมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทกรณี และไม่สามารถต่อภาษียานพาหนะได้ด้วย ถ้าป้ายภาษีขาดจะโดนปรับอีกไม่เกิน 1,000 บาท