อย่าเสียเวลาไปกับการ “รอ” อะไรนานเกินไป เพราะชีวิตของเรา “การรอ” มักผ่านเข้ามาเสมอในทุกเรื่อง มีทั้ง “รอ” ให้เกิดผลที่ดีขึ้นแล้วสำเร็จ หรือ “รอ” ในอีกแบบคือ รอแบบไร้จุดหมายและชวนอารมณ์เสียโดยไม่เกิดผลใดๆ สักที เราขอพาทุกคนไปดูปัจจัยที่ทำให้คุณรู้สึกว่าการรอคอยช่างยาวนานยิ่งนักเผื่อว่าจะรู้สึกว่าเวลาการรอของสั้นขึ้นได้บ้าง แล้วมาทบทวนกันหน่อย ว่าคุณล่ะเคยใช้ชีวิตไปกับการรออะไรบ้าง ? รู้ไหมในชีวิต เราใช้เวลาไปกับการรอเท่าไหร่บ้าง จากผลสำรวจของ Timex จากผู้คนในอเมริกา 20 นาที /วัน รอรถบัสและรถไฟ 32 นาที /วัน เมื่อไปพบหมอ 50 ช.ม. /ปี รถติด (ในเมืองใหญ่) ไม่มีอะไรทำ เมื่อเรามีอะไรทำการรอคอยบางอย่างจะสั้นขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ บางโรงแรมที่มีชั้นมากๆ ได้ติดตั้งกระจกไว้ในลิฟต์ เพื่อให้แขกเข้าพักรู้สึกไม่เบื่อและมีอะไรทำ อยากเริ่มทำอะไรสักอย่าง ทำไมเวลารอคิวร้านอาหารแล้วพนักงานค่อยๆ ให้เมนูดูอาหารก่อนถึงคิว หรือให้เด็กๆ ไปนั่งรอในห้องสอบก่อนเวลาเริ่มกือบครึ่งชั่วโมง เพราะเราจะรู้สึกยว่าเวลาช่างยาวนานหากเราไม่ได้เริ่มอะไรสักอย่างให้ได้เข้าใกล้สิ่งที่เราจะทำ กังวล แค่เราคิดว่า “โอย ไม่น่าเลือกแถวนี้เลยคิวยาวสุดในทุกแถว” หรือว่า “เข้าไปในรถจะเบียดแค่ไหนกันนะ” แค่คุณกังวลกับสิ่งที่รออยู่นั่นแหละ จะทำให้การรอของคุณนานขึ้นไปอีก เวลาไม่แน่นอน เราจะรอได้อย่างใจเย็นขึ้นหากได้รับเวลาคร่าวๆ ที่ต้องรอ เช่น “เดี๋ยวคุณหมอจะมาพบในอีก 30 นาทีนะคะ” จะฟังแล้วรู้สึกสบายใจกว่า “เดี๋ยวรอคุณหมอจะมาพบเร็วๆ นี้นะคะ” เมื่อเราได้ฟังคำพูดในแบบหลัง พอเวลาผ่านไปแค่แป็บเดียว เราก็จะรู้สึกหงุดหงิดว่าเมื่อไหร่เราจะได้พบคุณหมอสักท่ี แต่การกำหนดเวลาแน่นอนจะทำให้การรอทรมานน้อยลงหน่อย ไม่ได้รับการอธิบาย หากเราไม่รู้ว่ารออะไรอยู่ จะทำให้การรอยิ่งน่าหงุดหงิด การทราบสาเหตุว่ารออะไร เช่น คนส่งพิซซ่ามาสายเพราะเครื่องอบพิซซ่าเสีย, หรือการจราจรติดขัดเพราะมีการก่อสร้างด้านหน้า เป็นต้น เวลารอแล้วทราบเหตุผลที่ไม่แน่นอน และเราไม่สามารถเข้าใจว่า เรารออะไรอยู่กันแน่เนี่ยย รอคนเดียว เวลารออะไรอยู่คนเดียว เราจะรู้สึกใส่ใจกับเวลามากขึ้น กลับกัน หากเราอยู่กับคนรู้จักและมีการพูดคุย, เข้าสังคมกัน การรอจะได้รับการสนใจน้อยลง (แต่ในกรณีอารมณ์เสียจากการรอบางอย่างร่วมกันอาจยิ่งส่งเสริมกันและกันให้ยิ่งหัวร้อนก็เป็นได้) ขอบคุณที่มาจาก :logisticsmgepsupv ,PsychCentral