category เจาะลึกเบื้องหลัง The Momentum สำนักข่าวออนไลน์ยุคใหม่ ที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้


: 20 ธันวาคม 2559

เบื้องหลัง The Momentum สื่อออนไลน์ยุคใหม่ที่น่าจับตา

Zero to Hero*

ในวันที่วิกฤติสื่อสิ่งพิมพ์ในไทยทยอยปิดตัวกันรายเดือน สำนักข่าวช่องทีวีต่างประกาศลดคน ลดต้นทุนเพื่อพยุงกิจการให้อยู่รอด ก็ได้มีสื่อออนไลน์ไทยเลือดใหม่ที่ประกาศตัวว่าเป็น “สำนักข่าวออนไลน์” แบบเต็มตัว ซึ่งไม่ใช่แค่การจัดเต็มทั้งสื่อภาพ, วิดีโอ แต่ยังรวมไปถึง Infographic, Podcast ฯลฯ

ความแรงของ The Momentum สร้างกระแสบอกต่อถึงคุณภาพในเนื้อหาและแนวทางการทำสำนักข่าวออนไลน์ จนสื่อใหญ่หลายรายต้องจับตาดู หรือนี่จะเป็นทางออกใหม่ของสำนักข่าวออนไลน์ในไทย ใครอยู่เบื้องหลังผลงานนี้ พวกเขาทำงานกันอย่างไร การก้าวผ่านจาก aday มาเป็นสำนักข่าวเต็มตัว มีผลต่อพวกเขาแค่ไหน วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกกัน

*บทความชุด Zero to Hero ทีมงานจัดทำขึ้นเพื่อเชิดชูกลุ่มคนเบื้องหลังงาน Content Online โดยทีมงาน MangoZero เลือกที่จะนำเสนอโดยไม่ได้เป็นการโฆษณาหรือรับค่าจ้างแต่อย่างใด

a-day-magazine-first-issue-423x600

นิตยสาร a day


นิตยสาร a day ก่อตั้งขึ้นมาโดย วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์, นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์ นิตยสารฉบับนี้เกิดขึ้นจากการระดมทุนจากผู้อ่านมาสร้างนิตยสารที่น่าสนใจอยากอ่านนิตยสารที่แตกต่าง  a day มีหัวใจสำคัญในการนำเสนอคอลัมน์ผ่านหลักคิดสามหลักคือ Idea, Somebody และ Nostalgia ความที่  a day มีความแตกต่างจากนิตยสารในยุคนั้นจึงถูกขนานนามว่าเป็นนิตยสารเด็กแนว

กำเนิด : กันยายน 2543

hamburger-magazine

นิตยสาร HAMBURGER


นิตยสารบันเทิงเชิงสาระ ซึ่งเป็นนิตยสารหัวที่สองภายใต้การดูแลของโหน่ง วงศ์ทนง แม้ชื่อหัวหนังสือจะเป็นชื่ออาหารต่างชาติ แต่เนื้อหาภายในเป็นเรื่องบันเทิงไทยล้วนๆ และเนื้อหามีความเข้มข้นสนุก ไม่เบาหวิวเหมือนนิตยสารบันเทิงหลายเล่มในยุคนั้น ก่อนที่แฮมเบอร์เกอร์ จะเปลี่ยนมาเป็นนิตยสารฟรีก็อปปี้เมื่อปี 2558

กำเนิด : สิงหาคม 2543

a-day-weekly-magazine-438x600

นิตยสาร a day Weekly


นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ที่นำเสนอเนื้อหาในเชิงข่าวที่เข้มข้นไม่แพ้หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ a day Weekly มีความโดดเด่นที่หน้าปก เนื้อหาภายใน รวมไปถึงวิธีคิดในการนำเสนอซึ่งได้กลิ่นอายความเท่คล้าย a day แต่  a day Weekly จะดูจริงจังกว่าโดยมี อธิคม คุณาวุฒิ เป็นบรรณาธิการบริหาร

กำเนิด :  พฤษภาคม 2547

knock-knock-magazine-first-issue-521x600

นิตยสาร Knock Knock!


นิตยสารสำหรับหญิงสาววัยรุ่นเจาะกลุ่มเด็กมัธยมปลายไปจนถึงมหาวิทยาลัย Knock Knock!

เป็นนิตยสารหัวที่สี่ภายใต้เครือ day poets รูปแบบการนำเสนอนั้นคือการเล่าในสิ่งที่เป็นไลฟ์สไตล์ในแบบที่วัยรุ่นสนใจ โดยเนื้อหามีความสนุก หนักแน่น และสร้างสรรค์
กำเนิด : กันยายน 2547

aday-bulletin

นิตยสาร a day Bulletin


ฟรีก็อปปี้รายสัปดาห์ฉบับแรกในเครือของ day poets จุดเด่นของนิตยสารฉบับนี้คือความโดดเด่นของบทสัมภาษณ์ของบุคคลที่ขึ้นปก ปัจจุบันมีการปรับให้เป็นนิตยสารรายสามวัน พร้อมทั้งรวมนิตยสาร a day Bullentin Life ฟรีก็อปปี้หัวที่สองของเครือ day poets ไว้ในเล่มเดียวกัน
กำเนิด : กรกฏาคม 2551

the-momentum-online-news-600x600

สำนักข่าวออนไลน์ The Momentun


สำนักข่าวออนไลน์ที่เลือกนำเสนอข่าวในประเด็นที่แตกต่างกว่าสำนักข่าวกระแสหลักหรือสำนักข่าวอื่นๆ ในประเทศ และยังมีความหลากหลายในการนำเสนอข่าวทั้งบทความ วิดีโอ อินโฟกราฟฟิค และวิทยุออนไลน์ ในการนำเสนอไม่ว่าจะเป็นข่าวใด ก่อนจะถูกปล่อยออกไปทุกข่าวจะต้องมีการตั้งคำถามว่า “ผู้อ่านจะได้อะไรกลับไป” โดยมี นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ เป็นบรรณาธิการบริหาร

กำเนิด : ตุลาคม 2559

Moment of ‘The Momentum’

บทสัมภาษณ์ ‘เคน – นครินทร์ วนกิจไพบูลย์’

สำนักข่าว The Momentum เกิดขึ้นโดยเริ่มจากไอเดียของ ‘โหน่ง – วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์’ ที่มองเห็นว่าสื่อออนไลน์คืออนาคตใหม่ของวงการสื่อ ซึ่งนาทีนี้วงการสื่อหลายแห่งในโลกต่างก็พยายามที่จะปรับตัวย้ายแพลทฟอร์มจากสื่อเก่าเข้าสื่อใหม่เนื่องจากสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในช่วงขาลง

และอนาคตของสื่อที่มีอนาคตและมีอิทธิพลจะถูกย้ายไปอยู่บนโลกออนไลน์ The Momentum จึงเกิดขึ้นมาโดยมี ‘เคน – นครินทร์ วนกิจไพบูลย์’ รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการบริหาร และหลังจากวางโครงสร้างอยู่ 4 เดือน ในที่สุด The Momentum ก็เปิดตัวไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา

4 เดือนสร้าง ‘หัวใจ’ ให้ The Momentum
นครินทร์ บรรณาธิการบริหารหนุ่มเล่าว่า The Momentum ใช้เวลาในการเตรียมทีมมาตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาโดยพฤษภาคมคือเดือนแรกที่เขาเข้ามาเริ่มงานที่นี่ซึ่งเป็นการกลับมาอยู่ใต้ร่มไม้ชายคาบ้านหลังเดิมอีกครั้งหลังเขาออกจาก a day ไปอยู่ที่นิตยสาร Elle Men เขาต้องคุยรายละเอียดงานกับทางวงศ์ทนง อยู่หลายครั้งจนในที่สุด วงศ์ทนง ก็ซื้อไอเดีย

“ในตอนแรก The Momentum ไม่ได้คิดจะทำสำนักข่าว เราคิดแค่ว่าจะเป็นนิตยสารรายวัน แค่เปลี่ยนโฉม ซึ่งเราคุยกับพี่โหน่ง อยู่สามรอบเพื่อปรับทิศทางกัน เรามั่นใจว่าสิ่งที่เรากำลังจะทำเป็นช่องว่างที่ยังไม่เห็นว่าใครทำ ทั้งที่ในเมืองนอกสื่อลักษณะนี้มีเยอะมาก เราเห็นโมเดลธุรกิจที่มันน่าจะเป็นไปได้ แล้วก็เห็นว่าพื้นฐานของค่ายนี้สามารถซัพพอร์ทเราได้ ผมมองแล้วมันไปได้ไกลเพียงแต่เราต้องมาจูนแล้วก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบ”
“เวลาสี่เดือนแรกเราหมดเวลาไปกับการทำโครงสร้างเนื้อหา โครงสร้างเว็บไซต์ โมเดลธุรกิจ ต้องยอมรับว่าเราใหม่กับวงการสื่อออนไลน์ เพราะเราเป็นคนที่โตมาจากนิตยสาร เลยต้องจูนกันเยอะหน่อย ช่วงแรกจากที่คิดแค่ว่าจะเป็นแค่บทความข่าว แต่ก็มีไอเดียว่าทำไมไม่ทำวิดีโอ ทำวิทยุออนไลน์ นำเสนอรอบด้านเป็น multimedia 360 องศา เพราะคนอ่านสามารถรับข่าวสารจากข่องทางไหนก็ได้ รับสื่อด้วยวิธีไหนก็ได้”
“การโดนมองว่าเราเหมือน a day ผมว่ามันเลี่ยงไม่ได้ เพราะรากเราคือ a day ผมก็เป็นคนที่เติบโตมาในค่าย a day มาก่อน แต่เราไม่ได้คิดว่าเราทำ a day มันอาจจะมีกลิ่นบางอย่าง เช่นมันอาจจะเป็นเรื่องของการสร้างแรงบันดาลใจ ชี้ชวนให้เรามองโลกในแง่บวก ผมรู้ว่า a day มีคาแรคเตอร์ มีวิธีการมองโลกของ a day มันคืออะไร ผมพอจะรู้ซึ่งเราไม่ใช่” ‘เคน - นครินทร์ วนกิจไพบูลย์’

บก, The Momentum

สำนักข่าวออนไลน์รุ่นใหม่ที่สร้างปรากฎการณ์ ‘ใหม่ๆ’
การเกิดขึ้นของ The Momentum ถือได้ว่าได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในหมู่คนเสพสื่อ เอเจนซี่ ไปจนถึงสื่อออนไลน์รุ่นเก่า เนื่องจากการมาถึงของ The Momentum ถือได้ว่า ‘เล่นใหญ่’  และ ‘เล่นใหม่’ จนต้องเหลียวมองว่าคนกลุ่มนี้ทำอะไรอยู่

“เรามองตัวเองเป็นสำนักข่าวออนไลน์ที่มีจุดเด่นด้านความเร็ว เข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา รู้ลึก และแตกต่าง หลักการทำงานของเราคือถอยออกมาหนึ่งก้าวแล้วมองว่าในมุมที่สื่ออื่นๆ อาจจะไม่ได้มอง สูตรของ The Momentum ในการเลือกข่าวที่แตกต่างจากสำนักข่าวออนไลน์อื่นๆ คือ ‘เราควรเรียนรู้อะไรจากข่าวนี้’ เราพยายามตั้งคำถามกับคนอ่าน มากกว่าที่จะรายงานข่าว”

นิตยสารที่ปิดตัวไปแล้วในช่วงปี 2015 – 2016

นิตยสารพลอยแกมเพชร ( 25 ปี)
นิตยสารสกุลไทย (61 ปี)
นิตยสาร Image (27 ปี)
นิตยสารการ์ตูน C-Kids ( 20 ปี)
นิตยสารการ์ตูน Boom
นิตยสาร Oops! (12 ปี)
นิตยสาร VIVA Friday (21 ปี)
นิตยสาร KC Weekly ( 23 ปี)

นิตยสาร Candy (12 ปี)
นิตยสาร Volume (12 ปี)
นิตยสาร Cosmopolitan (20 ปี)
นิตยสาร Seventeen (14 ปี)
นิตยสาร Who ( 8 ปี)
นิตยสารเปรียว (35 ปี)
นิตยสารบางกอกรายสัปดาห์ ( 59 ปี)
นิตยสาร ILike (16 ปี)

และอีกจำนวนมาก ….

%

งบโฆษณาในสื่อนิตยสารที่ลดลงในปี 2559

%

สัดส่วนงบโฆษณาในนิตยสาร เทียบกับสื่อทั้งหมด

%

งบโฆษณาสื่อดิจิทัลที่เติบโตในปี 2559

“คำว่า ‘นิตยสารตายแล้ว’ เป็นคำพูดที่ด่วนสรุปไปนิดนึง แน่นอนว่ามันไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนสมัยก่อน อาจจะล้มหายตายจากไปกับสภาพ แต่ไม่ได้สูญพันธุ์ สื่อสิ่งพิมพ์ยังมีคุณค่าบางอย่างที่สื่อออนไลน์ทดแทนได้ไม่หมด เห็นได้ชัดเจนจากช่วงเดือนที่ผ่านมา สิ่งพิมพ์ที่นำเสนอเรื่องราวของในหลวงขายดีมาก แม้จะปล่อยให้โหลดออนไลน์แต่คนก็อยากซื้อเก็บ” โหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์

ผู้ก่อตั้งนิตยสาร a day

เบื้องหลังการทำงานของ The Momentum

Behind the Scene

The Momentum Team
โครงสร้างของสำนักข่าวออนไลน์แบ่งออกเป็น

  • บรรณาธิการบริหาร
  • บรรณาธิการบทความ
  • บรรณาธิการเนื้อหา
  • บรรณาธิการข่าวต่างประเทศ
  • กองบรรณาธิการ
  • อาร์ตไดเรคเตอร์
  • บรรณาธิการฝ่ายภาพ
  • พิสูจน์อักษร
  • Video Content (a day Studio)

กว่าจะมาเป็น 1 ข่าวใน Momentum

การทำงานในแบบ The Momentum Time (Draft till Done)
1.หลังจบงานในแต่ละวัน ตอนกลางคืน หรือช่วงดึกๆ ใครเจอประเด็นอะไรน่าสนใจจะโยนประเด็นนั้นไว้ในไลน์กลุ่ม
2. ไลน์กลุ่มห้ามปิดเสียง (เด็ดขาด) เพราะนี่คือช่องทางการประชุมหลัก
3. 8โมงเช้าเป็นต้นไปเริ่มประชุมงานผ่านทางไลน์ โดยใครดูแลข่าวลักษณะไหนจะมาคุยกัน
4.บรรณาธิการเลือกข่าว จากนั้นแยกย้ายกันไปทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย หรือตามที่ถนัด
5. ส่งงานกลับมาให้บรรณาธิการบทความดู ไม่ว่าจะเป็นงานข่าว หรือสคริปต์ ก่อนโพสต์ ก่อนตัดต่อ แล้วส่งต่อให้พิสูจน์อักษร
6.นักเขียนพูดคุยกับอาร์ตไดเพื่อตกลงเรื่องภาพ และอาร์ตไดฯ จะคุยกับบรรณาธิการฝ่ายภาพเพื่อเลือกภาพ
7. เขียนข่าวเสร็จ ภาพเสร็จพร้อมโพสต์ โดยโพสต์ข่าวทุกชั่วโมงทั้งในเฟซบุ๊คและเว็บไซต์โดยโพสต์ข่าวแรกตอนตี 5 และจบที่เที่ยงคืน
8.นอกจากรับผิดชอบข่าวตัวเองแล้ว ตลอดวันทีมงานคอย Monitor หาประเด็นอื่นด้วย หากเจอประเด็นเร่งด่วน และสำคัญทุกคนต้องทิ้งงานที่ตัวเองทำแล้วมาตกลงกันว่าใครจะช่วยในส่วนไหน

3 ข่าวเด็ด บ.ก. เคน Recommended ให้ลองดู

1. ‘ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย’ งานวิจัยชิ้นใหม่ของ ประจักษ์ ก้องกีรติ
“บทความนี้มีความเป็น The Momentum สูงมาก เป็นบทความที่มีคนอ่านเยอะที่สุด การตั้งคำถามว่าทำไมระบอบเผด็จการจึงสำเร็จในสังคมไทย ผมรู้สึกว่ามันเป็นคำถามที่คมมาก คมแบบไม่เคยมีใครกล้าถามเลย และเจตนาในการนำเสนอเรื่องนี้ของอาจารย์คือความหวังดี ที่น่าสนใจคือข่าวนี้คนอ่านไปเกือบหกแสนคนแต่แทบไม่มีคอมเมนต์ดราม่าเลย”
http://themomentum.co/momentum-feature-dictatorship-prajak

2.Moment of the Day 16-11-16 : ฟุกุโอกะซ่อมหลุมยักษ์ใน 7 วันได้อย่างไร

ตอนข่าวญี่ปุ่นซ่อมหลุมยุบมีคนเล่นข่าวนี้เยอะมาก แต่ยังไม่มีใครเล่นข่าวกระบวนการซ่อมแซม และจัดการหยุมยุบนั้นเลย เราเลยทำวิดีโอเพื่อบอกเล่าวิธีการนั้นคลิปนี้ลึกในเชิงข้อมูล และการตัดต่อวิดีโอนั้นมีคาแร็คเตอร์ที่ไม่เป็นทางการ เหมือนกับเราดูหนังญี่ปุ่นเรื่องนึงมันมีรสชาติอ่ะ รู้สึกว่าข่าวมันดูเซ็กซี่ขึ้น มันเหมือนผู้ชายมี six pack (หัวเราะ)

3.ความสวยงามของการดีเบต

“คลิปการ debate ครั้งที่ 2 ของ โดนัลด์ ทรัมป์ กับฮิลารี คลินตัน สำนักข่าวอื่นก็นำเสนอการ debate ไป รายงานทั่วๆ ไปเขาพูดไรบ้างซึ่งเราก็ทำครับ แต่มันมี point นึงที่ผมรู้สึกว่าน่าสนใจมากก็คือมันมีคนในห้องส่งถามขึ้นมาว่า “2 คนนี้มีอะไรที่เคารพซึ่งกันและกันไหม” จากที่สถานการณ์ดุเดือดกลายเป็นทุกอย่างเย็นลง ผมตั้งชื่อคลิปนี้ว่า ‘ความสวยงามของการดีเบต’ มันดูโลกสวยนะ แต่ว่าเฮ้ย! มันคือการเคารพกติกา มันคือการห้ำหั่นกันรุนแรงที่สุด แต่ว่าคุณไม่ได้มองศัตรูเป็นศัตรูที่ร้ายกาจ”

ONE Bite One Bite ‘ถามคำเดียว ตอบทันที’ กับ ‘เคน – นครินทร์ วนกิจไพบูลย์’

‘วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์’ Content Editor

ดูความเรียบร้อยของบทบาทก่อนปล่อยออนไลน์ ดูสคริปต์เพื่อปรับโทนให้เขากับคาแรคเตอร์ของ The Momentum

“เราจะนอนกันดึกมากๆ ห้าทุ่มเที่ยงคืนตีหนึ่งใครอ่านเจออะไรก็โยนทิ้งไว้ แล้วตอนเช้ามาคุยกัน โดยแบงค์ จะดูเรื่องใหญ่ๆ ส่วนน้องในทีมสี่คนจะดูข่าวความถนัด พอทุกอย่างจบ เราก็จะคุยกับคุยกับอาร์ตไดฯ ตลอดเวลาว่าอยากได้รูปประมาณไหน ภาพประกอบแบบไหน เราทำงานควบคู่กัน”

“เราเคยทำนิตยสารรายเดือน และรายสัปดาห์ ล่าสุดกระโดดมาทำออนไลน์มันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวิธีคิด และวิธีเขียน  ทุกวันนี้ประด็นมาจะทำได้เลย แต่การเขียนก็ต้องสั้นลง ภาษาต้องง่าย คุยแล้วเข้าใจ ประโยคแรกมันต้องโดน ต้องมีการตัดสินใจย่อยข้อมูลให้เยอะ เราคิดว่าวิธีคิดกับวิธีเขียนจะคล้ายบล็อคเกอร์ บวกสื่อมวลชน”

‘กริน ลีราภิรมย์’ Art Director

ดูแลเรื่องความเหมาะสมสวยงามของภาพประกอบในเว็บทั้งหมดโดยทำงานร่วมกับบรรณาธิการฝ่ายภาพ และนักเขียน เพื่อคัดเลือกภาพที่เหมาะสมกับบทความ

“ในฐานะอาร์ตไดฯ เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่ช่วงเช้า คอยรอดูว่ามีอะไรด่วนมากไหมต้องรีบทำรูปแค่ไหน เรามาทำงานที่นี่รู้สึกว่าเรื่องเวลาในการทำงานและการใช้ชีวิตจะทำให้เราสับสน(หัวเราะ)”

“เมื่อก่อนผมทำงานรายเดือนมาเจอรายวันก็งงเหมือนกันบางทีรายชั่วโมงด้วย (หัวเราะ) เราต้องปรับสไตล์ให้การทำงานเราให้เร็วขึ้น บางทีเรามาละเมียดละไมมากไม่ได้ เราตัดความละเอียดออกไปแล้วเน้นนำเสนอไอเดียที่สดใหม่ และเร็วต้องทำให้งานน่าตื่นเต้นขึ้นอยู่กับว่าเรามีเวลาทำงานมากแค่ไหน บางทีบอกเช้าเอาเย็น บางทีบอกบ่ายเอาอีกสามชั่วโมง (หัวเราะ) แต่เราไม่ปล่อยงานเผาออกมาแน่”

‘เอกพล บรรลือ’ Feature Editor,

ดูแลข่าวในประเทศเรื่องสังคม การเมือง ประเด็นที่มีการถกเถียงกันในสังคม

“แต่ละคนจะคอยมอนิเตอร์ประเด็นที่ตัวเองรับผิดชอบในแต่ละวัน แล้วแชร์ข่าวกันในไลน์ว่าตอนนี้มีอะไรน่าสนใจ หรือเราควรจะทำอะไร จากนั้นแบ่งงานกันทำ โดยวางตารางว่าข่าวของแต่ละคนจะลงตอนไหนเพื่อเติมพื้นที่การรายงานข่าวในแต่ละวันให้เต็ม เราโพสต์ทุกชั่วโมงดังนั้นทุกชั่วโมงต้องมีการเคลื่อนไหว เราแบ่งทีมโดยอัตโนมัติไม่ได้ระบุว่าใครเขียนช่วงเช้า เขียนช่วงบ่าย ใครดูเรื่องไหนทุกคนจะรู้คิวกันเอง”

“ระบบการทำงานเปลี่ยนไป เมื่อก่อนเราทำงานอยู่นิตยสารรายสัปดาห์ก็จะรู้อยู่แล้วว่าตารางปิดคอลัมน์มีวันไหนบ้าง มันมีลำดับการปิดคอลัมน์ที่สามารถวางแผนชีวิตได้ แต่พอมาทำออนไลน์งานเสร็จปุ๊บมันมีงานต่อได้อีก เพราะมันอาจจะมีเรื่องด่วนเข้ามาอีกก็ได้เพราะข่าวสมัยนี้เร็วมาก เรารอไม่ได้”

‘วชิรวิชญ์ กิติชาติพรพัฒน์’ Content Editor

ดูความเรียบร้อยของบทบาทก่อนปล่อยออนไลน์ ดูสคริปต์เพื่อปรับโทนให้เขากับคาแรคเตอร์ของ The Momentum

“เราจะนอนกันดึกมากๆ ห้าทุ่มเที่ยงคืนตีหนึ่งใครอ่านเจออะไรก็โยนทิ้งไว้ แล้วตอนเช้ามาคุยกัน โดยแบงค์ จะดูเรื่องใหญ่ๆ ส่วนน้องในทีมสี่คนจะดูข่าวความถนัด พอทุกอย่างจบ เราก็จะคุยกับคุยกับอาร์ตไดฯ ตลอดเวลาว่าอยากได้รูปประมาณไหน ภาพประกอบแบบไหน เราทำงานควบคู่กัน”

“เราเคยทำนิตยสารรายเดือน และรายสัปดาห์ ล่าสุดกระโดดมาทำออนไลน์มันมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของวิธีคิด และวิธีเขียน  ทุกวันนี้ประด็นมาจะทำได้เลย แต่การเขียนก็ต้องสั้นลง ภาษาต้องง่าย คุยแล้วเข้าใจ ประโยคแรกมันต้องโดน ต้องมีการตัดสินใจย่อยข้อมูลให้เยอะ เราคิดว่าวิธีคิดกับวิธีเขียนจะคล้ายบล็อคเกอร์ บวกสื่อมวลชน”

‘กริน ลีราภิรมย์’ Art Director

ดูแลเรื่องความเหมาะสมสวยงามของภาพประกอบในเว็บทั้งหมดโดยทำงานร่วมกับบรรณาธิการฝ่ายภาพ และนักเขียน เพื่อคัดเลือกภาพที่เหมาะสมกับบทความ

“ในฐานะอาร์ตไดฯ เราต้องเตรียมตัวตั้งแต่ช่วงเช้า คอยรอดูว่ามีอะไรด่วนมากไหมต้องรีบทำรูปแค่ไหน เรามาทำงานที่นี่รู้สึกว่าเรื่องเวลาในการทำงานและการใช้ชีวิตจะทำให้เราสับสน(หัวเราะ)”

“เมื่อก่อนผมทำงานรายเดือนมาเจอรายวันก็งงเหมือนกันบางทีรายชั่วโมงด้วย (หัวเราะ) เราต้องปรับสไตล์ให้การทำงานเราให้เร็วขึ้น บางทีเรามาละเมียดละไมมากไม่ได้ เราตัดความละเอียดออกไปแล้วเน้นนำเสนอไอเดียที่สดใหม่ และเร็วต้องทำให้งานน่าตื่นเต้นขึ้นอยู่กับว่าเรามีเวลาทำงานมากแค่ไหน บางทีบอกเช้าเอาเย็น บางทีบอกบ่ายเอาอีกสามชั่วโมง (หัวเราะ) แต่เราไม่ปล่อยงานเผาออกมาแน่”

‘เอกพล บรรลือ’ Feature Editor,

ดูแลข่าวในประเทศเรื่องสังคม การเมือง ประเด็นที่มีการถกเถียงกันในสังคม

“แต่ละคนจะคอยมอนิเตอร์ประเด็นที่ตัวเองรับผิดชอบในแต่ละวัน แล้วแชร์ข่าวกันในไลน์ว่าตอนนี้มีอะไรน่าสนใจ หรือเราควรจะทำอะไร จากนั้นแบ่งงานกันทำ โดยวางตารางว่าข่าวของแต่ละคนจะลงในเพื่อเติมพื้นที่การรายงานข่าวในแต่ละวันให้เต็ม เราโพสต์ทุกชั่วโมงดังนั้นทุกชั่วโมงต้องมีการเคลื่อนไหว เราแบ่งทีมโดยอัตโนมัติไม่ได้ระบุว่าใครเขียนช่วงเช้า เขียนช่วงบ่าย ใครดูเรื่องไหนทุกคนจะรู้คิวกันเอง”

“ระบบการทำงานเปลี่ยนไป เมื่อก่อนเราทำงานอยู่นิตยสารรายสัปดาห์ก็จะรู้อยู่แล้วว่าตารางปิดคอลัมน์มีวันไหนบ้าง มันมีลำดับการปิดคอลัมน์ที่สามารถวางแผนชีวิตได้ แต่พอมาทำออนไลน์งานเสร็จปุ๊บมันมีงานต่อได้อีก เพราะมันอาจจะมีเรื่องด่วนเข้ามาอีกก็ได้เพราะข่าวสมัยนี้เร็วมาก เรารอไม่ได้”

การต่อสู้ของ The Momentum ในโลกธุรกิจ

คำถามหนึ่งที่คนทำสื่อออนไลน์ถูกถามบ่อยๆ ก็คือ “จะหาเงินได้อย่างไร ?”

ใช่…นี่คือคำถามที่เราสงสัย และใครๆ ก็สงสัยเพราะในยุคที่สื่อออนไลน์เริ่มเฟื่องฟู ทว่าตัวเลขยอดค่าโฆษณาหากเทียบกับสื่อเก่าอย่างสิ่งพิมพ์แล้วมูลค่าก็ยังคงตามหลังอยู่ แม้ตัวเลขจะบอกว่าเม็ดเงินการลงโฆษณาไปอยู่บนออนไลน์หมด แต่การกำเนิดของสื่อใหม่ บนพื้นที่ใหม่ก็ต้องหาโมเดลการทำเงินให้เจอก่อนที่จะยืนระยะไม่ได้แล้วล้มหายไป

นครินทร์ เล่าในมุมมองของบรรณาธิการบริหารสำนักข่าวออนไลน์ ว่าโมเดลของการทำธุรกิจสื่อออนไลน์นั้นเปลี่ยนไป การขายแบนเนอร์ไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะสร้างรายได้ให้กับสำนักข่าวออนไลน์ หรือกระทั่งเว็บไซต์ไหนก็ตาม การหารายได้บนโลกออนไลน์ต้องมองให้กว้างกว่านั้น The Momentum ไม่ได้มองตัวเองเป็นแค่คนทำเว็บไซต์ข่าวอย่างเดียว แต่การที่มองว่าตัวเองคือสื่อที่เป็น มัลติมีเดีย 360 องศายิ่งทำให้มีตัวเลือกในการลงโฆษณามากขึ้น เพราะ The Momentum มีทั้งบทความข่าว, เป็นสถานีโทรทัศน์ออนไลน์ และ เป็นสถานีวิทยุออนไลน์ ดังนั้นช่องทางการหาผู้สนับสนุนจึงมีทั้งขายแบรนเนอร์, ขายบทความ และขายบทความเชิง advertorial

สูตรของ The Momentum ในการเลือกข่าวที่แตกต่างจากสำนักข่าวออนไลน์อื่นๆ คือ
‘เราควรเรียนรู้อะไรจากข่าวนี้’

the-momentum-logo-black

การสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อสนับสนุนผู้ที่มาลงโฆษณาก็ไม่ใช่กระบวนการคิดแบบนิตยสารอีกต่อไปที่จะมาเปิดหน้านี้แล้วจิ้มให้ลูกค้าดูว่าเราจะทำแบบนี้ จะวางโฆษณาประกบหน้าคอลัมน์ มาตรฐานจะเปลี่ยนไปโดยเฉพาะการทำเนื้อหาอย่างไรให้สร้างสรรค์ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเขาได้อะไรมากที่สุดเมื่อต้องสื่อสารสิ่งที่ลูกค้าต้องการผ่านสื่อออนไลน์

ขณะเดียวกันในแง่ของการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดของสื่อออนไลน์เองยังคงต้องแข่งกันที่เนื้อหา อนาคตเว็บข่าวจะมีมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเชื่อเหลือเกินว่าสุดท้ายแล้ว คนดูเองที่จะเป็นผู้ตัดสินว่าสำนักข่าวออนไลน์อย่าง The Momentum จะเป็นคำตอบของการเสพสื่อในยุคปัจจุบัน มากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ที่ทยอยปิดตัวลงไปจริงหรือไม่ ?

เรียบเรียงโดย
ทีมงาน MangoZero

บทความในชุด Zero To Hero

Zero to Hero คือบทความชุดที่ทีมงานจัดทำขึ้นเพื่อเชิดชูกลุ่มคนเบื้องหลังงาน Content Online โดยทีมงาน MangoZero เลือกที่จะนำเสนอโดยไม่ได้เป็นการโฆษณาหรือรับค่าจ้างแต่อย่างใด

เพราะเราอยากให้โลกออนไลน์ไทย “สนุกขึ้น”

Writer Profile : MangoZero Team
Blog : MangoZero Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save