สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สำนักพิมพ์ชินโชฉะ (Shinchosha) จากญี่ปุ่นได้เปิดตัวการ์ตูนเรื่องใหม่ชื่อว่า Cyberpunk: Peach John (ไซเบอร์พังก์: พีช จอห์น) ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนมังงะเล่มแรกของญี่ปุ่นที่ใช้โปรแกรม AI ที่ชื่อว่า มิดเจอร์นีย์ (Midjourney) ในการสร้างภาพประกอบทั้งเล่ม วางหน่ายสู่ตลาดแฟนมังงะเป็นที่เรียบร้อย
โดยทางสำนักพิมพ์ชินโชฉะบอกว่า Cyberpunk: Peach John เป็นผลงานมังงะจากเอไอฉบับสมบูรณ์เรื่องแรกของโลก ด้านผู้เขียนที่ใช้รูปแมวนิรนาม พร้อมนามแฝงว่า “Rootport” ได้เผยว่า ได้ป้อนคำอธิบายเป็นข้อความจำนวนหนึ่ง จากนั้นก็ได้ปรับแต่งภาพให้เข้ากับโครงเรื่อง พร้อมเผยว่างานเขียนการ์ตูนเล่มที่มีความยาวกว่า 100 หน้าและเป็นหน้าสีทั้งเล่มนี้ ในเวลาเพียง 6 สัปดาห์จากปกติหากใช้คนทำจะต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี
AIにマンガを描かせてみるテスト(1/n)#Midjourney #マンガが読めるハッシュタグ #ツイッタSF #サイバーパンク桃太郎 pic.twitter.com/ctA9BvpU9l
— Rootport💰🍹🍑 (@rootport) August 10, 2022
อย่างไรก็ตามระบบ AI เหล่านี้อาจจะยังไม่ถึงกับสมบูรณ์พร้อม และไม่สามารถสร้างภาพทุกภาพได้ตามใจ ปัจจุบันเอไอยังไม่มีอารมณ์ความรู้สึกหรือประสบการณ์ และไม่มีความปรารถนาที่จะสื่อสาร ในแง่นี้ เอไอยังไม่สามารถสร้างสรรค์งานที่สมบูรณ์แบบด้วยตัวมันเองได้ ความช่วยเหลือจากมนุษย์ยังเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะปัญหากับการวาดภาพ “มือตัวละคร” อย่างแม่นยำ โดยมักจะวาดนิ้วออกมามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ด้วยเหตุนี้ Rootport จึงต้องพยายามจำกัดจำนวนฉากที่จะมีมือของตัวละครปรากฏอยู่ในเฟรม
VIDEO: The author of a new sci-fi manga in Japan admits he doesn’t have drawing talent, so turned to artificial intelligence to create the images.
All the contraptions and creatures in “Cyberpunk: Peach John” were intricately rendered by Midjourney, a viral AI tool pic.twitter.com/WyB5ZDu0l0
— AFP News Agency (@AFP) March 7, 2023
อีกทั้งก็ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องของเครื่องมือสร้างภาพด้วย AI กำลังทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์และความสมบูรณ์ทางศิลปะหรือไม่จากศิลปินทั่วโลก
ขณะเดียวกัน “Rootport” นักเขียนญี่ปุ่นก็ยังเชื่อว่า ท้ายที่สุดแล้ว เทคโนโลยีจะช่วยปลดปล่อยศิลปินจากกระบวนการทำงานอันเหน็ดเหนื่อยในการสร้างมังงะที่เคยทำงานหนักจนทำให้ศิลปินหลายคนต้องล้มป่วยหรือถึงขั้นเสียชีวิต
โดยเน้นย้ำว่า “การลดเวลาที่ต้องใช้ไปกับงานที่ใช้พลังมาก ผู้สร้างจะสามารถทุ่มเทเวลาและพลังงานให้กับงานด้านความคิดสร้างสรรค์ของมังงะได้มากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่เรื่องราวที่น่าสนใจมากขึ้น”
ที่มา : Rootport, animenewsnetwork, droidsans, pptvhd36, cnn