ระหว่างรอวัคซีน mRNA อีกหนึ่งวัคซีนทางเลือกในไทยที่มีตอนนี้คือ ‘ซิโนฟาร์ม’ โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เปิดลงทะเบียนสำหรับองค์กร และกำลังจะเปิดให้ประชาชนในพื้นที่สีแดงเข้มลงทะเบียนในวันที่ 18 ก.ค. นี้ มาดูประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนฟาร์มกัน ว่าทำไมหลายคนจึงให้ความสนใจและเชื่อมั่นที่จะฉีดมากกว่าอีกวัคซีนในตระกูลเดียวกัน วัคซีนซิโนฟาร์ม หรือ วัคซีน BBIBP-CorV ผลิตโดยบริษัท China National Pharmaceutical Group (CNBG) และพัฒนาโดย Beijing Institute of Biological Product ในประเทศจีน ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท Sinopharm การรับรอง องค์การอนามัยโลก (WHO) จดทะเบียนให้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน เป็นรายที่ 6 ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ยาแห่งชาติจีน (NMPA) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนเป็นวัคซีนโควิดตัวที่ 5 ของไทย เทคโนโลยีการผลิต วัคซีนซิโนฟาร์มเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine) ผลิตจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว แต่โปรตีนยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกาย จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด-19 ประสิทธิภาพ ป้องกันการติดเชื้อ 79% (เมื่อฉีดครบ 2 โดส) ป้องกันอาการหนัก-เสียชีวิต 100% สามารถป้องกันสายพันธุ์แอฟริกาใต้ได้ แต่ประสิทธิภาพลดลง 1.6 เท่า ข้อควรรู้ ฉีดได้ในผู้ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน ผลข้างเคียง อาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนจะเกิดขึ้นภายใน 1-2 วัน และสามารถหายได้เอง ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้ ปวดเมื่อยตัว บุคคลที่ห้ามฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม อายุต่ำกว่า 18 ปี ผู้มีอาการแพ้วัคซีนโควิด-19 รุนแรง ผู้แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้รุนแรง อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ ผู้ที่มีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส การเก็บรักษา เก็บรักษาในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 องศา สามารถสังเกตความพร้อมในการใช้งานได้จาก แถบสีบนขวดที่จะเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิ ที่มา bbc hdmall bbcthai pptvhd36