เจาะลึกงาน “AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp 2020” โครงการปั้น Start Up รุ่นเยาว์ ให้เป็นนักธุรกิจตั้งแต่มัธยม!


: 22 มีนาคม 2564

นอกจากความรู้ที่ได้รับในห้องเรียนแล้ว การหาประสบการณ์นอกห้องเรียนก็สำคัญไม่แพ้กันสำหรับน้อง ๆ วัยค้นหาตัวเอง… 

แพลตฟอร์มรวมความรู้เพื่อเยาวชนรุ่นใหม่อย่าง ‘AFTERKLASS’ จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้ เพิ่มทักษะด้านในต่าง ๆ ออกมาตลอดทั้งปีให้น้อง ๆ ได้หาประสบการณ์กันมากมาย ที่สอดแทรกองค์ความรู้ ทั้งในด้านการบริหารจัดการทางการเงิน การลงทุน และการทำธุรกิจ

และในปีที่ผ่านมาก็มีโครงการดี ๆ อย่าง ‘AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp 2020’ ซึ่งเป็นกิจกรรมแคมป์ธุรกิจที่มุ่งสร้างทักษะด้านธุรกิจ ด้วยวิธีการทำงานแบบสตาร์ทอัพให้น้อง ๆ ได้ลองประลองไอเดียและลงมือทำงานจริงด้วยตัวเอง

ทั้งช่วงเปิดแคมป์ธุรกิจ ให้เรียนรู้และทำงานแบบ Hackathon ที่ต้องระดมไอเดียสร้างแผนธุรกิจขึ้นมาด้วยตัวเอง ผ่านการเรียนรู้จากพี่ ๆ โค้ชผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง KBank, KBTG และ BEACON VC ที่เข้ามาช่วยโค้ชทักษะด้านธุรกิจและเทคโนโลยีรอบด้าน เรียกได้ว่าติดอาวุธเพื่อฟูมฝักให้เป็นนักธุรกิจในอนาคตกันตั้งแต่วัยมัธยมเลยทีเดียว

ซึ่งนอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังได้ประสบการณ์ทำงานจริง และมิตรภาพจากเพื่อน ๆ ต่างโรงเรียนอีกมากมาย รวมไปถึงเงินรางวัลสำหรับทีมที่ได้เข้ารอบสุดท้ายกันอีกด้วย

แต่สำหรับใครที่อยากรู้ว่าโครงการนี้มีความพิเศษยังไงอีกบ้าง Mangozero จะพามาคุยกับผู้ริเริ่มโครงการ รวมถึงน้อง ๆ ที่มาเข้าร่วมในปีนี้ไปด้วยกันว่างานนี้จะน่าสนใจและไม่ควรพลาดแค่ไหน

AFTERKLASS Young Tech Start Up  Kamp 2020 คืออะไร ?

ก่อนจะไปคุยกับน้อง ๆ ทีมงานก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย ผู้คอยดูแลภาพรวมตลอดโครงการถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้

คุณรวี : “โครงการ AFTERKLASS Kamp เกิดจากการที่เรามีการสำรวจเรื่องของความคิดเห็นของเด็กที่อยู่ในแพลตฟอร์มของเราว่า สิ่งที่เขาอยากรู้ สิ่งที่เขาอยากเป็น สิ่งที่เขาอยากทำคืออะไร ปรากฏว่าเรื่องของธุรกิจเป็นเรื่องหลักที่เขาอยากจะทำ”

“เด็กรุ่นใหม่ต้องการที่จะทำอะไรเป็นของตัวเอง เขาโตมากกว่าที่เราคิด เขามักจะถามว่าสิ่งที่เขาทำ มันช่วยทำอะไรให้มันดีขึ้นไหม ช่วยสังคมบ้างหรือเปล่า ช่วยให้คนรู้สึกเป็นอยู่ดีขึ้นไหม เราก็เลยเอาโจทย์ที่เด็กอยากได้ มาทำเป็นตัวแคมป์” 


หลักสูตรของแคมป์นี้เป็นอย่างไร ?

คุณรวี : “ภายในหลักสูตรของแคมป์มันจะมีหลายเรื่องมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการตลาด เรื่องของผู้บริโภค เรื่องของเทคโนโลยี แล้วก็เรื่องการบริหารจัดการด้านการเงิน ซึ่งทั้งหมดมันจะทำให้การจัดทำแผนธุรกิจมันมีประสิทธิภาพสูงสุดครับ”

และนี่คือตัวแทนจากกลุ่มน้อง ๆ ในค่าย AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp ปีนี้ ซึ่งเป็นตัวแทนจากทีม “Parkdee” ได้แก่ น้องคีน กิตติภูมิ  ปัดแก้ว จากโรงเรียนมัธยมวัดสิงห์, น้องมะเหมี่ยว เบญจสิริน คลังพหล จากโรงเรียนโยธินบูรณะ, น้องโบนัส ภัคจิรา นภาพรรณสกุล จากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี และน้องพาร์ ณัชชา ชลานุเคราะห์ จากโรงเรียนราชินี

ผู้เป็นเจ้าของไอเดียสร้างแอปพลิเคชันให้บริการหาและจองที่จอดรถในบริเวณที่ผู้ใช้ต้องการจะไปได้ด้วยตนเอง ได้ประโยชน์ทั้งกลุ่มผู้ใช้บริการและกลุ่มผู้ให้บริการเช่าพื้นที่จอดรถในบริเวณนั้น 

ซึ่งผลงานไอเดียของน้อง ๆ กลุ่มนี้ ก็ได้รับความสนใจจากกรรมการจนคว้ารางวัลชนะเลิศในปีนี้ไปได้ ไปทำความรู้จักกับพวกเธอให้มากขึ้นกันดีกว่า  

ทำไมถึงสนใจมาร่วมแคมป์นี้กัน ?

มะเหมี่ยว : ของหนู หนูไม่รู้จัก AFTERKLASS มาก่อนเลย พอเห็นว่ามีค่ายแล้วหนูอยากเก็บ Portfolio เพราะว่าอยู่ ม.6 แล้ว เผื่อจะเข้ามหาวิทยาลัยง่ายขึ้น

โบนัส : ตอนแรกก็ยังไม่รู้เลยว่า Hackathon คืออะไร ? ก็สมัครเข้ามาเลยค่ะ แล้วก็ไปเห็นใน Netflix มีซีรี่ส์เรื่อง Start-Up ก็ดู ก็ตามนั้นเลยค่ะ เห็นแล้วอยากเข้าค่ายมากค่ะ

พาร์ : ตั้งใจมาเก็บ Profolio เหมือนกัน พอเข้ามาก็รู้สึกสนุกที่ได้เจอเพื่อน ๆ ที่ตอนนี้ก็สนิทกันแล้ว

คีน : หนูอยากมีธุรกิจของตัวเอง ก็เลยคิดว่าค่ายนี้น่าจะมีพื้นฐาน ให้เราไปต่อยอดในอนาคต ก็เลยลองมาสมัครดูก็ “อุ๊ย…ติด ดีใจ” รีบบอกที่บ้าน

พอสมัครเข้ามาแล้ว ได้ทำอะไรบ้าง ?

มะเหมี่ยว : ของหนูหน้าที่เป็น CEO ค่ะ เป็นหน้าที่ที่เราต้องคอยดูองค์รวม แล้วก็ช่วยเพื่อนทำในสิ่งที่เพื่อนไม่ได้ รวมถึงเรื่องการตลาด ซึ่งก็เป็นเรื่องใหม่มาก ๆ แล้วก็ตอน Pitching ก็ทำให้รู้สึกว่า “กล้าขึ้นนะ” “เราพัฒนาตัวเองขึ้นมาก ๆ เลย” ต่อไปนี้คิดว่าจะไปเป็นเซลล์แล้วค่ะ

คีน : ส่วนคีนเป็น CFO ค่ะ ดูเรื่องการเงินของกลุ่มว่าควรลงทุนเท่าไหร่ ถึงจะเป็นได้ผลกำไรสำหรับบริษัท ก่อนหน้านี้เราไม่เคยรู้เลยว่า ต้องเอาตัวไหนมาคำนวน จะได้เงินคืนทุนภายในกี่ปี กำไรบริษัทจะได้เท่าไร หรือว่าต้นทุนตัวนี้ประมาณไหน จะพอไหม ก็ได้ความรู้จากตรงนี้ที่พี่เขาสอนมาด้วยค่ะ

โบนัส : เป็น CTO นะคะ ก็เกี่ยวกับเทคโนโลยี ดูเรื่องหน้าตาแอปพลิเคชัน จากหน้านี้แล้วไปไหนต่อ คอยหาจุดอ่อนของแอปพลิเคชันอื่น ๆ แล้วก็หยิบมาปรับใช้ในแอปพลิเคชันของเรา 

พาร์ : ของหนูเป็น CDO ค่ะ ดูในเรื่องของดีไซน์ ตัวงานที่หนูทำก็จะเป็นเรื่อง Prototype ของแอปพลิเคชัน รู้สึกว่าได้ Improve ตัวเองตรงที่ได้ฝึกทำ ได้ลองทำจริง ๆ จนตอนนี้ก็ทำคล่องอยู่ระดับหนึ่งเลย

ความรู้สึกตอนอยู่บนเวทีรอบสุดท้ายในวัน DEMO DAY

มะเหมี่ยว : ก็ท้าทายค่ะ รู้สึกว่า “อุ๊ย…ไม่ได้เตรียมมา” “อุ๊ย…ยังไงดี”

โบนัส : รู้สึกว่าคำถามที่เดาว่าเดี๋ยวต้องโดนถามแน่ ๆ เลย อ่ะ ถามจริง ๆ ด้วย

อยากบอกอะไรพี่ ๆ กรรมการ

มะเหมี่ยว : โหดน้อยลงนิดนึงนะคะ

โบนัส : จะบอกว่ากรรมการตอนที่นั่งอยู่ดูโหดมาก

มะเหมี่ยว : แต่พอข้างหลังเวทีพี่ ๆ น่ารักมาก เหมือนคนละคนเลย เขามาคุยแบบ “เป็นยังไงบ้าง สู้ ๆ นะ” แต่พอคาแรคเตอร์เป็นกรรมการปุ๊ป “โอ้ว โหด”

สิ่งที่ประทับใจจากค่ายนี้ 

มะเหมี่ยว : หนูรู้สึกได้สังคมใหม่ หมายถึงเพื่อนเขาก็มีแนวคิดของเขาเอง วันแรก ๆ ที่เจอกัน เพื่อนมีแนวคิดใหม่มาเสนอเยอะมาก มันเป็นความคิดที่ “ว้าว…มันมีคนคิดแบบนี้ด้วยเหรอ” เราก็รู้สึกว่าทำได้ เพราะว่ามีเพื่อนที่เขาพอจะช่วยเราได้ แล้วก็พี่โค้ชที่เขาให้ความรู้แทบทั้งหมดเลยที่เขาจะรู้มา

โบนัส : ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่รู้ ไม่เคยได้เรียนรู้จากในห้องเรียนปกติก็ยังไม่มีอะไรแบบนี้ค่ะ 

ฝากชวนน้อง ๆ มาสมัครรุ่นต่อไปกันหน่อย

พาร์ : อยากให้น้อง ๆ คิดว่ามันเป็นบันไดอีกขึ้นที่น้อง ๆ จะก้าวไปในระดับมหาวิทยาลัยนะคะ อยากให้ลองมากันดูเพราะว่าไม่ว่าจะเข้าสายไหนก็ตาม บริหารมันวนอยู่รอบตัวเราอยู่แล้ว อยากให้ลองมาจริง ๆ

คีน : มาช่วยผลักดันกัน เพราะว่าค่ายนี้เขาดีจริง รีบมาทำให้ค่ายเขาดังกันค่ะ เราจะได้แบบว่า ปัง ๆ ปั๊วะ ๆ กันหมดเลย

นอกจากน้อง ๆ ที่อยากให้โครงการ AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp ได้พัฒนาต่อไปแล้ว ในมุมมองของหนึ่งในคณะกรรมการ

นั่นก็คือ คุณวรกฤษ เหล่าวิทวัส Senior Innovation Product Manager จากกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) ที่คอยเฝ้าดูน้อง ๆ ฝึกฝนกันมาตลอดโครงการเอง ก็สนใจที่จะสนับสนุนให้ต่อยอดพัฒนาเด็กไทยให้ไปได้ไกลกว่านี้อีกด้วย

คุณวรกฤษ : “ในฐานะที่ผมเป็นคนไทยแล้วก็ผ่านจุดนี้มาก่อนนะครับ ผมก็เชื่อว่าจริง ๆ เราต้องพัฒนากันอีกเยอะ ในเรื่องของศักยภาพเชิงการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะว่าตอนนี้เพื่อนบ้านเขาก็ค่อนข้างไปไกลแล้ว รุ่นที่เราเห็นประมาณ 20 – 30 ตอนนี้ อาจจะเป็นท็อป แต่ผมเชื่อว่าเราต้องสร้างคนประเภทนี้ให้เยอะกว่านี้นะครับ อย่างน้อยรุ่นหนึ่ง 600,000 คนทั้งประเทศ เราควรจะมีอย่างน้อย 80% ที่เป็นแบบนี้นะครับ ก็อยากให้มีโครงการดี ๆ แบบนี้เยอะ ๆ ขึ้น แล้วก็เปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เข้ามา Join Knowledge แบบนี้เยอะขึ้น” 

คุณวรกฤษ เสริมอีกว่า “อยากให้น้อง ๆ ทุกคนลองสมัครกันเข้ามา เพราะว่ากิจกรรมทุกอย่าง เราพยายามออกแบบให้มันสนุก แล้วก็พี่ ๆ ทุกคนพยายามให้ความรู้น้อง ๆ เต็มที่มาก ๆ ถ้ามีคำถามหรืออยากสมัครเข้ามา ก็สามารถติดต่อได้ที่ www.afterklass.com เลยครับ

เป้าหมายต่อไปของ AFTERKLASS Young Tech Start Up Kamp

คุณรวี : “และในปีนี้เราจะมีการขยายเรื่องของการทำ Business Camp ไปในระดับโรงเรียนมากขึ้น เพื่อจะให้เกิดการขยายต่อยอดแนวคิดต่าง ๆ มากขึ้น” 

คุณรวี : “สำหรับน้อง ๆ ที่มีความสนใจ พี่คิดว่า AFTERKLASS เป็นเวทีที่จะช่วยหล่อหลอมให้เรามีความเป็นมนุษย์ที่เต็มที่ ทั้งเรื่องการทำงาน ทำธุรกิจ การใช้ชีวิตอยู่กับเพื่อน การบริหารจัดการด้านการเงิน ซึ่งทักษะทั้งหมดนี้เราเรียกว่า Life Skill ซึ่งจะทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ในโลกของการแข่งขันมากขึ้น มี Disruption มันจะสามารถให้เราอยู่ได้อย่างยั่งยืนและมีความสุขครับ” 

ฟังพวกเขาเล่ามาขนาดนี้แล้ว แน่นอนว่ากิจกรรมในแคมป์ที่แน่น ทั้งเนื้อหา มิตรภาพและประสบการณ์จริง ๆ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่สนใจโครงการดี ๆ แบบนี้ล่ะก็ สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมได้ทาง www.afterklass.com กันอีกเรื่อย ๆ เลย

 

 

TAG :
Writer Profile : jazz.ordinaryday
Blog : Social Media : Facebook, Twitter
View all post

ฮาวทู Live อย่างไร ให้ได้ใจคนดู

[Covid-19 Phenomena] 10 New Normal ในมุมกีฬาและความบันเทิง หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิดระบาด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save