สธ.แจงประเด็นวัคซีนโควิด-19 ราคา เงื่อนไข ระยะเวลาการฉีด ย้ำไม่ล่าช้าและไม่เสียประโยชน์


: 17 กุมภาพันธ์ 2564

 

หลังจากในการประชุมอภิปรายไม่ไว้วางใจ ณ รัฐสภา ที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอิศร ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้เปิดอภิปรายถึงกรณีการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ที่ล่าช้าและกระจุกตัว 

ล่าสุด นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรางสาธารณสุขได้ออกมาชี้แจงและจัดการแถลงข่าวร่วมกับ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ โดยสรุปเป็นข้อ ๆ ดังนี้

  • หลังจากที่ประเทศไทยสามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ และการระบาดในระลอก 2 ได้ แม้จะช้าไปบ้าง แต่ขั้นตอนต่อไปคือการใช้วัคซีน
  • สธ.วางเป้าหมายใช้วัคซีนเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันระดับประเทศ จึงเน้นความครอบคลุม จึงเตรียมการให้เร็วที่สุดเท่าที่จะนำได้ โดยจำนวน 63 ล้านโดสถือว่าสูงที่สุด
  • ด้านการเตรียมการเรื่องวัคซีน เริ่มตั้งแต่ช่วงเม.ย. โดยวางไว้ 3 รูปแบบ คือ การสนับสนุนวิจัยในประเทศ การทำความร่วมมือในการวิจัยกับต่างชาติ และการจัดหาวัคซีนโดยตรง
  • สิ่งสำคัญที่ประเทศไทยวางเป้าหมายไว้คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต 
  • ช่วงเดือน ก.ค. – ส.ค. แอสตราเซเนกา เริ่มหาผู้ผลิตวัคซีนต่อ และพบว่าสยามไบโอไซเอนซ์มีความเหมาะสม จึงเจรจาจองซื้อ และจะถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ไทย
  • ทางแอสตราเซเนกา เชื่อมั่นในศักยภาพของสยามไบโอไซเอนซ์ พร้อมทั้งเริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ตั้งแต่เดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ภายใต้เงื่อนไขผลิตเพื่ออาเซียน
  • การจองซื้อวัคซีนทุกเจ้าต้องจ่ายเงินบางส่วน แต่ความต่างคือของแอสตราเซเนกาจ่ายค่าจองเป็นส่วนหนึ่งของค่าวัคซีน การอภิปรายในสภาให้ข้อมูลไม่ครบถ้วนอาจเกิดความเข้าใจผิดได้
  • ข่าวลือที่ระบุว่ามีบริษัทวัคซีนของอินเดียมาเสนอขายให้ประเทศไทย ไม่เป็นความจริง
  • ขอให้มั่นใจในศักยภาพคนไทยที่ไม่แพ้ใครในโลก เราไม่จำเป็นต้องมีวัคซีนหลายชนิด แต่ขอให้มีวัคซีนจำนวนมากพอ ครอบคลุมประชากร ฉีดวัคซีนได้คุณภาพ
  • เป้าหมายการบริหาจัดการวัคซีนคือ 1.ลดอัตราการป่วยและตาย 2.ปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ 3.ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
  • เป้าหมายการฉีดวัคซีน เริ่มจาก 2 ล้านโดสของซิโนแวค สำหรับผู้เสี่ยงสูง ในเดือน ก.พ. – เม.ย. 64 จากนั้น 63 ล้านโดสจะดำเนินการใน 7 เดือน ตั้งเป้าโรงพยาบาลพร้อมฉีด 1,000 แห่ง ฉีดได้วันละ 30,000 คน ปีละ 10 ล้านคน
  • กรณีราคาวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ไทยซื้อแพงกว่าอียูและสหรัฐฯ เนื่องจากรวมค่าสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับจากแต่ละประเทศมาหักเป็นค่าวัคซีน ทำให้ราคาแต่ละประเทศไม่เท่ากัน

 

ที่มา The Bangkok Insight

Writer Profile : Jiratchaya Laosakul
The Zero Junior #6 ผู้คลั่งรักเกิร์ลกรุ๊ป ชอบอ่านมังงะ เวลาว่างดูอนิเมะ เป็นเด็กวารสารที่ชื่นชอบงานเขียนและมีความฝันว่าอยากจะเปิดร้านหนังสือเป็นของตัวเองในสักวัน
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save