Mango Zero

7 วิธีลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือน รู้ไว้จะได้วางแผนภาษีได้ถูก

“คนไทยทุกคนที่มีรายได้ต้องเสียภาษี เพราะการเสียภาษีคือหน้าที่ของทุกคน…” แต่อันที่จริงเราทุกคนสามารถจ่ายภาษีให้น้อยลงได้เพราะรัฐบาลเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคนสามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วยวิธีการต่างๆ นอกเหนือจากภาระส่วนตัวของเรา อย่างถูกวิธี

ซึ่งวิธีการลดหย่อนภาษีที่รัฐบาลสนับสนุน ส่วนหนึ่งก็เพื่อที่จะสร้างพฤติกรรมให้คนที่มีรายได้ โดยเฉพาะ ‘มนุษย์เงินเดือน’ ได้รู้จักการวางแผนการเกษียณในอนาคตนั่นเอง แล้ววิธีการลดหย่อนภาษีของมนุษย์เงินเดือนที่รับเงินเป็นรายเดือนชัดเจน หรือบางคนก็อาจจะมีงานฝิ่นบ้างนั้นมีวิธีไหนบ้าง เราจะมาแนะนำ 7 วิธีลดหย่อนภาษีนั้นให้เอง!

ประกันสังคม ลดหย่อนภาษีสูงสุด 9,000 บาท

ประกันสังคมคือค่าใช้จ่ายที่เราเลี่ยงไม่ได้เลยเพราะกฏหมายบังคับไว้ว่ามนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องให้บริษัทหักเงินเดือน 5% หรือสูงสุด 750 บาทเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน บางคนอาจบ่นว่าจ่ายไปแล้วเสียเปล่าเพราะบริษัทมีสวัสดิการการรักษาที่ดีกว่า หรืออะไรก็ว่าไป

แต่จริงๆ แล้วประกันสังคมที่เราจ่ายไปทุกเดือนนั้น สิ้นปีเราเอามาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกินกับที่จ่ายไป และสุดสูงไม่เกิน 9,000 บาท ดังนั้นเงินที่เราจ่ายไปทุกเดือนนั้นไม่เสียเปล่า และประกันสังคมยังเป็นช่องทางในเก็บเงินสมทบยามเกษียณหากส่งต่อเนื่องจนถึง 180 เดือน (ต่ำกว่า 180 เดือนก็ได้ แต่ผลตอบแทนน้อยหน่อย)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นสวัสดิการที่หลายออฟฟิศมีให้พนักงาน ซึ่งเราสามารถให้บริษัทหักจากเงินเดือนได้ตั้งแต่ 3% ไปจนถึง 15%  ทุกเดือน และบริษัทก็จะสมทบเงินให้เราตามลำดับขั้นและอายุการทำงาน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นสามารถเอาเงินที่จ่ายทุกเดือนไปหักลดหย่อนภาษีได้เต็มจำนวนที่จ่ายไป

เช่นตลอดทั้งปีเราเก็บเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ 15,000 บาท ก็เอาเงินก้อนนี้แหละไปลดหย่อนได้เต็มๆ แต่กฎหมายได้กำหนดเพดานในการลดหย่อนว่าต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้เราตลอดทั้งปี หรือไม่เกิน 500,000 บาทอย่างใดอย่างหนึ่ง รวมถึงเงินที่ลดหย่อนนั้นต้องเป็นเงินที่เราจ่ายเอง ไม่รวมเงินที่บริษัทสมทบให้

ซื้อกองทุน LTF หรือ RMF  ลดหย่อนภาษีสูงสุด 500,000 บาท

หุ้นอาจจะเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ ผลตอบแทนก็ดี แต่ว่าไม่สามารถลดหย่อนภาษีได้ รวมถึงมีความผันผวนสูง มนุษย์เงินเดือนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุนอาจจะติดดอยได้ แต่จริงๆ แล้วมนุษย์เงินเดือนก็สามารถลงทุนได้และมีความเสี่ยงน้อย โดยลงทุนผ่านกองทุนต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนชัดเจน แน่นอน และลดหย่อนภาษีได้

ปัจจุบันกองทุนที่ได้รับความนิยมและรัฐบาลให้ใช้ลดหย่อนภาษีให้มีให้เลือกทั้ง LTF (กองทุนรวมหุ้นระยะยาว) หรือ RMF (กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพการลงทุนทั้งสองรูปแบบนี้สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด ไม่เกิน 15% ของเงินได้สูงสุดของเรา หรือ 500,000 บาท อย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าอยากจะลงทุนด้วย และลดหย่อนด้วยก็ใช้วิธีนี้ได้นะ

ดอกเบี้ยบ้านหรือคอนโด ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท

ดอกเบี้ยบ้านหรือคอนโดที่เราจ่ายไปในทุกเดือนนั้น (สำหรับคนที่ผ่อนบ้าน ผ่อนคอนโดอยู่นะ) แม้จำนวนจะดูมหาศาลและโหดร้ายต่อใจเราเหลือเกิ๊นโดนเฉพาะปีแรกๆ ของการผ่อน ดอกเบี้ยที่หักไปเยอะเกินกว่าเงินต้นเสียอีก อย่างไรก็ตามดอกเบี้ยที่จ่ายไปนั้นไม่ได้สูญสลายกลายเป็นอากาศธาตุให้เราใจบาง

เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายไปนั้นสามารถเอามาลดหย่อนภาษีได้ด้วย (เย้!!) โดยสามารถลดหย่อนได้เต็มจำนวนที่จ่ายไปตามจริง หากผ่อนมากกว่าหนึ่งหลังก็เอาดอกเบี้ยรวมแล้วลดหย่อนได้ด้วย แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาทนะ ส่วนสาเหตุที่ดอกเบี้ยอสังหาฯ ลดหย่อนภาษีได้นั้นก็เพราะการซื้ออสังหาฯ คือการกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง

ประกันสุขภาพ ลดหย่อนภาษีสูงสุด 15,000 บาท

การดูแลสุขภาพตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับมนุษย์เงินเดือนทุกคน และรัฐบาลก็สนับสนุนให้เราดูแลตัวเองเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระในการดูแลจากภาครัฐ เราดูแลตัวเองน่ะดีที่สุด ก็เลยให้เราซื้อประกันสุขภาพมาเพื่อดูแลตัวเอง และยังเอาเงินค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เมื่อรวมกับเบี้ยประกันภัยคุ้มครองชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท

สำหรับการคุ้มครองนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราซื้อประกันสุขภาพแบบไหน บางคนอาจจะมองข้ามเพราะคิดว่าเรายังอายุน้อยคงไม่เจ็บป่วยอะไร แต่อยากให้คิดว่าชีวิตเราไม่แน่นอนวันนี้ไม่ป่วย แต่พรุ่งนี้อาจจะเจ็บหนักก็ได้ใครจะรู้จริงไหมล่ะ ทำประกันแล้วได้ใช้ ดีกว่าจะใช้แล้วไม่ได้ทำ

ประกันแบบสะสมทรัพย์ ลดหย่อนภาษีสูงสุด 100,000 บาท

การซื้อประกันสะสมทรัพย์เป็นอีกหนึ่งวิธีการลงทุนของมนุษย์เงินเดือนที่ได้ผลตอบแทนตามที่กำหนด เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญเรื่องการลงทุน แต่อยากจะมีกำไรจากการลงทุนที่การันตีผลตอบแทนให้ได้ค่อนข้างแน่นอนชัวร์ๆ

สิทธิประโยชน์ของประกันสะสมทรัพย์ไม่ใช่แค่ได้ผลตอบแทนอย่างเดียว แต่ยังได้รับการคุ้มครองชีวิตด้วย และยังนำเบี้ยประกันไปลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ประกันสะสมทรัพย์จะให้เราส่งระยะสั้นๆ เช่นส่งไป 6 ปี เท่านั้นพอ แล้วปล่อยไประหว่างนั้นเราก็ได้รับการคุ้มครอง จากนั้นเมื่อครบปีที่ 15 ก็รับเงินต้นคืนพร้อมผลตอบแทน สบายใจไป

ประกันบำนาญ ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท

การซื้อประกันสะสมทรัพย์ก็คือการออมเงินเบื้องต้นของมนุษย์เงินเดือนที่อยากได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าฝากประจำ และยังได้รับการคุ้มครองด้วย แต่การซื้อประกันบำนาญนั้นเป็นการวางเป้าหมายระยะยาวไปจนถึงวันเกษียณว่าควรจะมีเงินใช้เท่าไหร่ถึงจะอยู่ได้ เพราะประกันบำนาญนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่าไหร่ แล้วอยากได้ผลตอบแทนแค่ไหน

โดยประกันประเภทบำนาญนั้นจะจ่ายค่าตอบแทนให้เราปีละครั้งเริ่มตั้งแต่วันที่เราอายุ 55 ปี (ขึ้นอยู่กับแบบประกัน) ไปจนกว่าจะครบอายุที่ระบุในกรมธรรม์ ประกันบำนาญสามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดที่ 300,000 บาท ต่อครั้ง ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศของกรมสรรพากร ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากรได้เลย 

แนะนำประกันเพื่อมนุษย์เงินเดือนจากธนชาต ลงทุนวันนี้สบายวันหน้า

เพราะการวางแผนอนาคตเป็นเรื่องใหญ่ของมนุษย์เงินเดือน เราจึงอยากแนะนำผลิตภัณฑ์จากธนาคารธนชาต ที่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย เพื่อให้มีบั้นปลายชีวิตที่สดใส  รวมถึงลดหย่อนภาษีด้วยกับ ประกัน 3 รูปแบบ 3 แนวทางให้คุณได้เลือกตามแผนที่วางไว้ได้แก่

นอกจากนั้น ธนชาตยังแจกฟรี voucher เติมเที่ยวเดินทาง BTS  สำหรับเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไป แจกสูงสุดถึง 40 เที่ยว มูลค่า 1,080 บาท (หรือจนกว่าของจะหมด มูลค่ารวมสูงสุด 1 ล้านบาท) สำหรับลูกค้าเข้าร่วมแคมเปญเพียงสมัครผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ร่วมรายการ และชำระเบี้ยประกันภัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2561

ซึ่งผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจาก บมจ.พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) ที่ขายผ่านธนาคารธนชาต และ ผู้เอาประกันควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

สนใจในผลิตภัณฑ์หรืออยากได้รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ที่ http://bit.ly/2Cyt5xD วางแผนลดหย่อนภาษีวันนี้ ก็สามารถวางชีวิตที่ดีของตัวเราได้