หากเราเฝ้าดูการเติบโตของต้นไม้ก็จะเริ่มจากเมล็ดพันธุ์ขนาดจิ๋ว แล้วค่อยๆ เจริญงอกงามกลายเป็นต้นไม้ใหญ่ แต่ในทางกลับกันสิ่งของบางอย่างที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เริ่มต้นมาจากการมีขนาดที่ใหญ่ แล้วค่อยได้รับการพัฒนาจนมีขนาดที่เล็กลงเรื่อยๆ แต่!!! ฟังก์ชั่นหรือประสิทธิภาพกลับเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เรียกว่า “จิ๋วแต่แจ๋ว” เราลองย้อนไปดูกันดีกว่าว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นมีอะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์
ย้อนกลับไปเมื่อ 73 ปีที่แล้ว (ค.ศ.1946) ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นของ “คอมพิวเตอร์” เครื่องแรกของโลก ประดิษฐ์โดยจอห์น ดับลิว มอชลีย์ (John W. Mauchly) และ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิรต (J.Prespern Eckert) ระบบทำงานใช้หลอดสูญญากาศจำนวน 18,000 หลอด มีน้ำหนัก 30 ตัน ใช้เนื้อที่ห้อง 15,000 ตารางฟุต เทียบเท่าห้องขนาดใหญ่ เวลาทำงานต้องใช้กำลังไฟถึง 140 กิโลวัตต์ เท่ากับคอมพิวเตอร์ปัจจุบันหลายร้อยเครื่องรวมกัน อลังการมาก!
ต่อมาถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง แต่ยังคงความเร็วสูง พร้อมใส่ความจำให้มากขึ้น เพื่อให้ประมวลผลได้รวดเร็ว ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนหลายเจ้าเข้ามาพัฒนาและดัดแปลงให้เหมาะกับยุคสมัย สะดวกต่อการทำงาน สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ ที่สำคัญน้ำหนักยังเบาลงด้วย เช่น คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กแบบขนาดตั้งโต๊ะ , โน๊ตบุ๊ค รวมถึง แท็บเล็ต นอกจากนี้ยังใส่ฟังก์ชั่นล้ำๆ เข้าไป เช่น สแกนนิ้วมือ หน้าจอสัมผัสได้ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยใหม่
ฮาร์ดดิสก์
ในอดีตฮาร์ดดิสก์ ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นเมื่อ 63 ปีที่แล้ว (ค.ศ.1956) โดยมีน้ำหนักมากถึง 1 ตัน แต่สามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 5 เมกะไบต์ (เท่ากับไฟล์เพลงแค่หนึ่งไฟล์บนเครื่องเล่นในไอพอด) รวมถึงยังมีราคาสูงอีกด้วย ต่อมาฮาร์ดดิสก์ถูกย่อขนาดให้เล็กลงชนิดที่สามารถใส่กระเป๋าพกพาไปไหนมาไหนได้ รวมถึงความจุเพิ่มมากขึ้นถึง 100 ล้านเท่ารวมถึงราคาก็ไม่สูงมากอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี SSD (Solid State Drive) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เหมือนกับฮาร์ดดิสก์ ต่างกันแค่วิธีจัดเก็บเป็นแบบ Flash Memory หรือให้เข้าใจง่ายๆ คล้ายกับยูเอสบีแฟลชไดร์ฟนั่นเอง นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เพราะขนาดของ SSD จะมีขนาดเล็กประมาณ 1.8 – 2.5 นิ้ว พกพาง่ายมาก แถมประสิทธิภาพการทำงานยังเร็วและแรงกว่า ฮาร์ดดิสก์ แม้ว่าความจุจะแตกต่างกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ 1 TB กับ SSD 240 GB แต่ความเร็วของ SSD กลับชนะขาด จิ๋วแต่แจ๋วของจริง!
กล้องวิดีโอ
กล้องวิดีโอ หรือรู้จักกันว่าเป็นกล้องดิจิทัล มีวิวัฒนาการมากจากกล้องถ่ายภาพแบบอะนาล็อก ต่อมาก็พัฒนาให้เป็นกล้องที่ใช้ในรายการโทรทัศน์ ซึ่งมีขนาดใหญ่มากกว่าปัจจุบัน สมัยนั้นเทคโนโลยียังไม่สูงมาก ทำให้การบันทึกภาพต้องแปลงสัญญาณแสงและสีเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อใช้บันทึกลงในวัสดุเก็บข้อมูล ต่อมาเมื่อการใช้งานเริ่มหลากหลายขึ้น ประกอบกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยี เช่น รูปแบบของการบันทึกไฟล์ข้อมูล เป็นต้น กล้องวิดีโอในปัจจุบันจึงมีขนาดเล็กลง แถมยังมีความคมชัดระดับ Full HD และยังบันทึกข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับขนาดที่เล็กลง พกพาสะดวกเพื่อการใช้งานคล่องตัว รวมถึงใส่ฟังก์ชั่นพิเศษต่างๆ เช่น การโหลดภาพผ่านระบบไวไฟ สามารถอัพโหลดรูปหรือใช้งานได้ทันที เป็นต้น เรียกได้ว่า ถึงจะเล็ก แต่ก็เล็กพริกขี้หนูเลยนะ
โทรศัพท์มือถือ
รู้หรือไม่ว่าโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลกมีน้ำหนักถึง 1 กิโลกรัม คิดถึงสมัยก่อนมันคงหนักน่าดู ขอพาทุกคนย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ.1973 ประมาณ 46 ปีที่แล้ว ทำความรู้จักกับ มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) ผู้ให้กำเนิดโทรศัพท์มือถือ และได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งโทรศัพท์มือถือ เขาคิดค้นโทรศัพท์มือถือหลังจากมองว่าคนเราต้องการสื่อสารตลอดเวลา ไม่ว่าอยู่ไหนก็ตามที่สำคัญยังต้องการความเป็นส่วนตัวด้วย แรกเริ่มโทรศัพท์มือถือทำได้เพียงโทรเข้า – ออกเท่านั้น และมีน้ำหนักมาก ส่วนราคาไม่ต้องพูดถึงเพราะสูงมาก เมื่อเทียบกับค่าครองชีพในสมัยนั้น
จากนั้นก็ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง บางเบาขึ้น ดีไซน์ทันสมัย มาพร้อมกับฟังก์ชั่นสุดล้ำ เพื่อตอบโจทย์คนยุคใหม่ ทำได้ทั้งเชื่อมต่อบลูทูธ ถ่ายรูป เล่นเกมส์ ท่องโลกอินเทอร์เน็ต จนถึงการสัมผัสหน้าจอ จนกลายเป็นของที่ขาดไม่ได้และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว
อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
แผ่นดิสก์ หรือ ฟลอปปีดิสก์ เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล คนยุค 90 ซึ่งน่าจะรู้จักกันดี ^^ แผ่นดิสก์รุ่นแรก (ค.ศ.1971) มีขนาดใหญ่ถึง 8 นิ้ว ต่อมาถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง ประมาณ 3 นิ้ว ความจุเพียง 360 กิโลไบต์ แล้วเป็นที่รู้จักและนิยมใช้อย่างแพร่หลาย ในตอนนั้นความจุสำหรับการเก็บข้อมูลค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ที่ต้องการความจุสูงกว่านี้ ทำให้ถูกพัฒนาไปเป็น แผ่นซีดี , ดีวีดีรอม แต่ปัจจุบันการใช้แผ่นซีดีและดีวีดีได้เลิกใช้แล้ว เนื่องจากมียูเอสบี แฟลชไดร์ฟ ไปจนถึง Micro SD Card ที่เล็ก กะทัดรัด สะดวกต่อการพกพา จุข้อมูลได้เยอะขึ้น รวมถึงการโอนถ่ายข้อมูลก็ยังรวดเร็วมากขึ้นด้วยเช่นกัน หากลองเปรียบเทียบความจุ เช่น Micro SD Card 1 TB (เทราไบต์) ความจุเพิ่มมากขึ้นถึง 1,000 ล้านเท่าจากฟลอปปีดิสก์
เครื่องเล่นเพลง
เสียงเพลงที่ออกมาจากเครื่องเล่นแผ่นเสียง ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปัจจุบันคงหาฟังได้ยาก ซึ่งแผ่นเสียง สีดำเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 นิ้ว เทียบเท่าจานใบใหญ่ มีร่องเล็กขนาดจิ๋วล้อมรอบเต็มไปด้วยปุ่มขรุขระเพื่อให้เข็มของเครื่องเล่นแผ่นเสียงวิ่งผ่านจนกลายมาเป็นเสียงผ่านลำโพง ซึ่งเสียงที่ได้ค่อนข้างทุ่มและไม่มีมิติ แต่สมัยนั้นถือว่าดีที่สุดแล้ว ข้อเสียของแผ่นเสียงคือพังง่าย มีนำ้หนักจึงต้องทะนุถนอมเป็นอย่างดี
ต่อมาถูกพัฒนาให้เป็นระบบดิจิทัล เพื่อให้สามารถผลิตแผ่นเสียงได้เร็วมากขึ้น พร้อมระบบเสียงสเตอริโอรอบทิศทาง ใช้งานด้วยเครื่องเล่นแบบดิจิทัล สามารถใช้งานง่ายขึ้น ดูแลรักษาง่าย รวมถึงเป็นแฟชั่นของคนรุ่นใหม่ แต่เทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่งทำให้ระบบเสียงกลายมาเป็นไฟล์ MP3 ที่สามารถโหลดเข้าเครื่องเล่นได้ทันที และสามารถฟังได้ทุกที่ทุกเวลาราคาก็ถูกกว่าด้วย
เครื่องยนต์
ในอดีต รถยนต์ที่มีสมรรถนะกำลังที่ดี จะต้องมีเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ ซีซีเยอะ อย่างไรก็ตาม เมื่อเครื่องใหญ่ เครื่องแรง ก็จะต้องแลกกับอัตราการสิ้นเปลื
สำหรับสาวกฮอนด้า ที่สนใจ All-new Accord ไปยลโฉมคันจริงกันได้ที่งาน