เคยสังเกตหรือเปล่าว่าข้างซองขนม หรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารที่เรากินอยู่ทุกวันจะมีข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการ เป็นตัวเล็กๆ อยู่ในตารางสีขาว นี่เรียกเรียก ฉลากโภชนาการ วันนี้จะมีแนะนำข้อมูลที่ทุกคนควรจะรู้เกี่ยวเจ้าสิ่งนี้กัน
1.ฉลากโภชนาการคืออะไร
ฉลากโภชนาการว่าจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้บริโภครับรู้ถึงข้อมูลของสารอาหารที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อง่ายต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค เนื่องจากที่ผ่านมาพบปัญหาภาวะโรคอ้วน ในเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง อย. จึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องฉลากโภชนาการ เพื่อบังคับให้ผู้ผลิตสินค้าแสดงข้อความฉลากโภชนาการ เพื่อให้เป็นเครื่องมือตัดสินใจของผู้บริโภค
2.ฉลากโภชนาการ มี 2 รูปแบบ
ฉลากโภชนาการแบบเต็ม แสดงชนิดและปริมาณสารอาหารบังคับที่ควรทราบ 15 รายการ คือ
- พลังงานทั้งหมด
- พลังงานไขมัน
- ไขมันทั้งหมด
- ไขมันอิ่มตัว
- คอเลสเตอรอล
- โปรตีน
- คาร์โบไฮเดรต
- ใยอาหาร
- น้ำตาล
- โซเดียม
- วิตามินเอ
- วิตามินบี 1
- วิตามินบี 2
- แคลเซียม
- เหล็ก
ฉลากโภชนาการแบบย่อหรือฉลากจีดีเอ แสดงข้อมูลทางโภชนาการ 4 รายการคือ
- พลังงาน
- น้ำตาล
- ไขมัน
- โซเดียม
3.รูปแบบของฉลากโภชนาการ
- การแสดงฉลากโภชนาการแบบจีดีเอตามรูปแบบและเงื่อนไขของบัญชีแนบท้ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 374) พ.ศ.2559 เรื่อง อาหารที่ต้องแสดงฉลากโภชนาการ และค่าพลังงานน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมแบบจีดีเอ
- แสดงไว้บนบรรจุ ใช้ฉลากโภชนาการแบบเต็ม อยู่ในตารางลักษณะแบบแนวนอน หรือแบบขวางตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ส่วนใหญ่เรามักจะเห็นอยู่ด้านหลังของผลิตภัณฑ์อาหาร
- แสดงไว้ด้านหน้าใช้ฉลากแบบจีดีเอส่วนใหญ่จะย่อเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจง่ายมากขึ้นโดยนำข้อมูลเข้ามาใส่ในตารางเรามักจะเห็นอยู่ด้านล่างมุมขวาของผลิตภัณฑ์อาหาร
4.วิธีตรวจสอบฉลากโภชนาการ
- แสดงคุณค่าทางโภชนาการต่อ…
- ควรแบ่งกิน…ครั้ง
- ควรแสดงค่าพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
- *คิดเป็นร้อยละของปริมาณสูงสุดที่บริโภคได้ต่อวัน
- สีกรอบฉลากควรเป็นสีดำ
5.ปลอมแปลงฉลากโภชนาการถือเป็นความผิด
กรณีที่ผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายตรงต่อผู้บริโภคมีการแสดงรายละเอียดบนฉลากไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ถือว่าเป็นการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง และฝ่าฝืนประกาศซึ่งออกตามมาตรา 6(10) จะมีโทษตามมาตรา 51 คือ ปรับไม่เกิน 30,000 บาท