Mango Zero

เข้าใจคนรอบตัวมากขึ้น ด้วยทฤษฎี 45 cm.

ใครบอกว่าเฟรนด์โซนไม่สามารถวัดเป็นระยะทางได้ จะรู้ได้อย่างไรว่าอีกฝ่ายชอบเราหรือไม่ การสัมภาษณ์งานครั้งนี้ถูกใจหัวหน้าจริงไหม สิ่งเหล่านี้แม้ไม่พูดออกมาก็อาจจะเดาได้เป็นนัยๆ ด้วยระยะห่างระหว่างกัน วันนี้ Mango Zero จะพาไปรู้จักกับทฤษฎี 45 cm. ที่จะทำให้เข้าใจคนรอบตัวมากขึ้น

เป็นที่รู้กันโดยสากลว่า ยิ่งคนเรามีความสนิทสนมต่อกันมาก ยิ่งมีระยะห่างน้อย แต่เมื่อขัดใจจนเลิกราหรือมีเหตุต้องห่างกันไป ก็ทวงคืนพื้นที่ส่วนตัวด้วยการขอระยะห่างเพิ่ม จนหลายคนสงสัยว่า ระยะห่างจริงๆ แล้ววัดได้หรือไม่ ในแต่ละความสัมพันธ์ต้องมีระยะห่างแบบไหนถึงจะพอดี? 

ทุกคนมี “พื้นที่ส่วนบุคคล”

ระยะห่างส่วนบุคคล (Personal space) ในทางมนุษย์วิทยา  หมายถึง  พื้นที่ส่วนตัว  หรือช่องว่างระหว่างบุคคลในสังคม  ถือเป็นอาณาเขตส่วนตัว สามารถปรับเปลี่ยนระยะได้ ขึ้นอยู่กับอารมณ์ ความสัมพันธ์ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมที่เราเติบโตมา หากถามถึงคำจำกัดความของลักษณะของพื้นที่ส่วนบุคคลแบบจับต้องได้  ก็คงมีลักษณะดังนี้

ระยะห่างเท่านี้ แปลว่าอะไร

เอ็ดเวิร์ค ฮอลล์ (1966) นักมนุษย์วิทยาชาวอเมริกัน เสนอว่าระยะห่างระหว่างบุคคลถือเป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดแบบหนึ่ง(เรียกอีกอย่างว่าอวจนะภาษา) และได้ตั้งเป็นทฤษฎี Proxemic (พร็อกซีมิกส์) ซึ่งได้แบ่งระยะห่างระหว่างบุคคลออกเป็น  4  ระยะคือ

ใกล้ชิดสนิทกว่าใคร

ระยะสนิทสนม (Intimate Distance) ประมาณ 0 – 18 นิ้วหรือ 0 – 15 ซมเป็นระยะใกล้ชิดที่สุด สามารถสื่อสารได้อย่างใกล้ชิดในทุกๆทาง ทั้งภาษาพูด ที่มักจะสนิทสนมและไม่เป็นทางการ รวมไปถึงภาษากาย การสัมผัสใกล้ชิดกัน ซึ่งใช้เฉพาะคนพิเศษหรือในเหตุการณ์เฉพาะอย่าง  เช่น  การแสดงความรักต่อกันระหว่างคู่รัก คนในครอบครัว การปลอบโยนผู้อื่น หรือในการเล่นกีฬาต่างๆ เช่น มวยปล้ำ เทควันโด เป็นต้น

ใกล้ในระยะพอดี

ระยะส่วนตัว (Personal Distance)  ประมาณ 18 – 30 นิ้ว หรือ 45 – 120 ซม. เขตป้องกันตัวระยะใกล้ เป็นระยะที่เราใช้กับเพื่อนหรือคนที่สนิทสนมกัน สามารถเอื้อมมือถึงกันและพูดคุยกันได้ในระดับเสียงพูดปกติ  แต่ก็ยังคงรักษาระยะห่างส่วนบุคคลไว้บ้าง

ใกล้พอเป็นพิธี

ระยะสังคม (Social Distance)  ประมาณ 7 – 12 ฟุตหรือ 1.2 – 3.6 เมตร เป็นระยะที่มักใช้กับผู้ที่ไม่คุ้นเคย ใช้พูดคุยทางสังคมและหรือติดต่อทางกันธุรกิจ ภาษาที่ใช้ก็จะเป็นภาษาที่เป็นทางการมากขึ้น  และท่าทางการแสดงออกอาจอยู่ในเงื่อนไขของมารยาททางสังคมที่ดี อาจพูดเสียงดังขึ้น เพราะอยู่ห่างกันมากขึ้น เช่น ในการประชุมของนักธุรกิจในระดับผู้บริหาร

ใกล้แค่ไหนก็ยังไกล(อยู่ดี)

ระยะสาธารณะ (Public Distance) ประมาณ 12 ฟุต ขึ้นไป หรือ 3.6 เมตรขึ้นไป มักเป็นระยะในการสื่อสารทางเดียว เช่นการปรากฎตัวในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นระยะที่เป็นทางการมากขึ้น และต้องใช้เสียงพูดดังขึ้นไปอีก เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ การปราศรัยในที่สาธารณะ เป็นต้น

เพราะระยะห่าง ส่งผลต่ออารมณ์

ระยะห่างสามารถส่งผลต่ออารมณ์ของเราได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ เมื่อเกิดระยะห่างที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมขึ้น เช่น ในครอบครัวที่พ่อแม่ไม่แสดงออกทางความรักด้วยการกอดหรือสัมผัสลูก อาจทำให้โตมาอย่างรู้สึกโดดเดี่ยวและขาดความอบอุ่น หรือในกรณีคู่รักที่มีความสัมพันธ์แบบรักระยะไกล (Long Distance Relationship) หากไม่มีการติดต่อพูดคุยกันอย่างเหมาะสมและมากพอ  ก็อาจเกิดความหวาดระแวงในความสัมพันธ์ที่มีต่อกันและรู้สึกห่างเหินได้  

ความเป็นส่วนตัวของเราสิ้นสุดตั้งแต่ระยะที่ 45 เซ็นติเมตรเป็นต้นไป ระยะห่างระหว่างบุคคลเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นกับทุกคนในทุกๆ วัน  และเพราะว่าไม่มีป้ายเตือน บางครั้งเราอาจล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่ส่วนบุคคลของใครหลายคนโดยไม่ได้ตั้งใจ

แต่หากฝ่ายตรงข้ามยังคงมีท่าทีเปลี่ยนไปเมื่อเราเข้าใกล้เกิน 45 เซนติเมตร ทั้งที่ก็สนิทกันดี บางทีอาจเป็นเพราะว่าฝ่ายตรงข้ามไม่มีความมั่นใจ หรือเรามีอะไรที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นปาก ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อสุขภาพที่ดี และใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความมั่นใจได้ ก็เป็นตัวช่วยที่จำเป็นกับในทุกระยะเช่นเดียวกัน 

เลือกซื้อยาสีฟันที่ช่วยยกระดับความมั่นใจของเราได้ ที่นี่