category 4 เหตุผลที่ไทยขึ้นอันดับ 1 ประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มากที่สุดในเอเชียตอนนี้ !!


: 12 มีนาคม 2561

385684

รู้หรือไม่ ว่าตอนนี้ประเทศไทยเรานอกจากจะเป็นประเทศแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเอเชียแล้ว ล่าสุดเรายังขึ้นมาเป็นเบอร์ 1 ของประเทศที่มีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (Medical Tourism) อีกด้วยนะ !!

โดยการจัดอันดับของ The Inter national Healthcare Research Center (IHRC) พบว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยติดอันดับ 6 ของโลก และมีนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มากที่สุดถึงราว 38% ของภูมิภาคเอเชียทั้งหมด

4 เหตุผลที่ไทยขึ้นอันดับ 1 การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

ไม่ง่ายนักที่ไทยเราจะขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในด้านการแพทย์ที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติฝันถึงได้ เพราะในอดีตแล้ว ประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก รวมถึงอินเดียและมาเลเซีย ที่ค่ารักษาพยาบาลไม่ได้แพงมากนัก

เรามาดูเหตุผลดีๆ ที่ทำให้ไทยเราขึ้นมาอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้ได้อย่างน่าสนใจกันดีกว่า

shutterstock_170193947

1. ค่ารักษาพยาบาลที่ถูกกว่า และบริการดีกว่า

ขึ้นชื่อว่าเมืองไทยนั้นนอกจากจะมีบริการที่ดี พูดคุยด้วยรอยยิ้มจนชาวต่างชาติติดใจแล้ว ค่ารักษาพยาบาลในไทย ทั้งโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลรัฐ ก็ยังถูกกว่าในหลายๆ ประเทศอีกด้วย

ยกตัวอย่างเช่นค่าผ่าตัดบายพาสหัวใจ หากรักษาที่สิงคโปร์ ค่าบริการเฉลี่ยจะสูงถึง 18,500 ดอลลาร์สหรัฐ แต่หากมารักษาในไทย ราคาเฉลี่ยเพียง 11,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถูกกว่าถึงเกือบเท่าตัว

shutterstock_446132101

2. จำนวนโรงพยาบาลมาตรฐานที่มากกว่า

หากพูดถึงโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานสากลนั้น ประเทศไทยเรามีโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน JCI (Joint Commission International) มากถึง 42 แห่ง (มากเป็นอันดับ 4 ของโลก) เมื่อเทียบกับอินเดียที่มี 23 แห่ง และมาเลเซียกับสิงคโปร์ที่มีเพียง 10 แห่ง

จะเห็นได้ว่าไทยเรามีโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐานจำนวนมากที่สุดในภูมิภาคแถบนี้เลยทีเดียว

shutterstock_343424894

3. ไทยมีชื่อเสียงด้านการทำศัลยกรรมและความงาม

ไม่ใช่เพียงการรักษาพยาบาลโรคต่างๆ เท่านั้น ไทยเรายังขึ้นชื่อในเรื่องของการทำศัลยกรรม ทั้งการทำศัลยกรรมใบหน้า, การแปลงเพศ รวมไปถึงการบริการด้านความงามอื่นๆ เช่น สปา หรือการนวดต่างๆ

มีการเปิดเผยตัวเลขว่าการทำศัลยกรรมจมูกในไทยนั้น มีราคาถูกกว่าในสหรัฐฯ ถึง 2 เท่า และศัลยกรรมแปลงเพศมีราคาถูกกว่าสหรัฐฯ และยุโรปถึง 10 เท่าเลยทีเดียว

shutterstock_192334124

4. การสนับสนุนของภาครัฐ และ EEC ช่วยผลักดันไทยเข้าสู่ Medical Hub ของโลก

EEC หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีเป้าหมายที่จะยกระดับธุรกิจในประเทศไทยให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจระดับโลก โดยภาคอุตสาหกรรมทางการแพทย์นั้น อยู่ในส่วนของ New S-curve หรือ 5 อุตสาหกรรมใหม่ ที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่

สิ่งที่น่าสนใจคือ ECC กำลังจะช่วยต่อยอดให้ไทยก้าวเข้าไปสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์อย่างครบวงจร (Medical Hub) โดยการเพิ่มธุรกิจด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากเดิมที่มีพื้นฐานด้านอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

โดยอุตสาหกรรมนี้มีการเติบโตที่ค่อนข้างเร็วในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรของไทย จะประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้

  • การให้บริการสมัยใหม่ : การให้บริการด้านการแพทย์ผ่านอินเทอร์เน็ตและสมาร์ทโฟน โดยการใช้เทคโนโลยีการเชื่อมต่อและระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้คำปรึกษาและบริการกับผู้ป่วยทางไกลทั้งในและต่างประเทศ
  • การวิจัยและผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ : การผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและติดตามผลระยะไกล ซึ่งมีรากฐานมาจากการพัฒนาของเคร่ืองรับรู้และอุปกรณ์การวัดสมัยใหม่ โดยสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค 3 กลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่ต้องการวินิฉัยโรคด้วยตนเอง
  • การวิจัยยา-ผลิตเวชภัณฑ์ : ส่งเสริมและเน้นการวิจัยยาที่เป็นที่ต้องการของเอเชียเป็นหลัก โดยเน้นการลดกระบวนการและลดระยะเวลาการทดลองยาสมัยใหม่ ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  เพื่อดึงดูดให้มีการทดสอบและผลิตยาในประเทศไทยเพื่อเอเชียในอนาคต รวมถึงอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วจนมีขนาดใหญ่กว่ายาสามัญท่ัวไป

ซึ่งอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติเป็นจำนวนมาก และในอนาคตนอกจากประเทศไทยจะเป็นศูนย์การการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ หรือ Medical Tourism แล้ว จะยังเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ครบวงจร หรือ Medical Hub อีกด้วย

ที่มา – DITP, คมชัดลึก, SCBEIC

Writer Profile : MangoZero Team
Blog : MangoZero Social Media : Facebook, Twitter
View all post

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save