โปรแกรมเมอร์เป็นอาชีพที่ทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์ซะเป็นส่วนใหญ่ และเป็นงานทางวิศวกรรมที่ไปในทางเทคนิคเยอะมาก ทำให้หลายคนอาจจะไม่เข้าใจงานของอาชีพนี้ว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร และนี่ก็คือ 10 เรื่องเศร้าที่เกิดขึ้นกับโปรแกรมเมอร์ที่พวกเราอยากให้เข้าใจหัวอกของเราบ้าง… 1. ทำแค่นี้ ทำไมคิดราคาพี่แพงจัง “ทำไมทำเว็บราคาแพงจัง ลูกพี่ก็ทำได้ คิด 1,000 บาทเอง” ประโยคที่โปรแกรมเมอร์หลายคนที่ทำงานลักษณะ Freelance จะได้ยินกันบ่อยมาก เนื่องจากตอนนี้ยังมีอีกมากที่ไม่ได้เข้าใจต้นทุนในการทำงาน โปรแกรมมีตั้งแต่ราคา 0 บาท ถึงหลักร้อยล้านพันล้าน ซึ่งถ้าพี่อยากได้เว็บ 1,000 บาท เว็บบริษัทพี่ก็จะมีคุณภาพ 1,000 บาทนั่นแหละ เอาไหมหล่ะ ให้ลูกพี่ทำก็แล้วกัน 2. แก้นิดเดียวเอง น่าจะใช้เวลาไม่นานนะ โปรแกรมเมอร์หลายคนรู้ดีว่าโครงสร้างของโค้ดจะมีความซับซ้อน และถูกดีไซน์โครงสร้างมาสำหรับ Require ตอนแรก การแก้ไขโค้ดที่มีผลกระทบกับโครงสร้างนั้นไม่ต่างจากการลงเสาเข็มบ้านแล้วมาเปลี่ยนทีหลัง แน่นอนว่าการแก้ไขส่วนใดส่วนนึงจะมีผลกระทบกับงานอื่นอีกด้วย เช่น การแก้ Font บนเว็บ ก็ต้องดีไซน์แต่ละจุดใหม่ เพราะว่าการจัดวาง Space การใช้ขนาดก็จะไม่เหมือนกัน เป็นต้น อยากให้ทราบว่าการจะแก้งานต้องคุยกันยาวเลยนะ 3. AE/Marketing ไม่เข้าใจสิ่งที่เราบอก เนื่องจากงานสายเทคนิคเค้าจะมีศัพท์เฉพาะของงาน บางครั้งโปรแกรเมอร์เองก็ไม่รู้หรอกว่าคู่สนทนามีความรู้แค่ไหน บางทีคุยกับคนทั่วไปอาจจะเหมือนเราพูดภาษาต่างดาวกับเค้าเลย รวมไปถึงทีมงานที่ทำงานร่วมกันบ่อยอย่าง Designer ก็ควรจะคุยและถามกันบ่อยๆ ครับ 4. มักจะพบ Bug ของโปรแกรมตอนพรีเซนต์กับลูกค้า เป็นเรื่องไสยศาสตร์ชวนขนลุกที่เกิดขึ้นประจำ ทดสอบอยู่ที่ออฟฟิศแบบละเอียดแล้วก็ไปโป๊ะที่หน้างานอยู่ดี ถ้ามีโอกาสก็เตรียมดอกไม้ธูปเทียบไปไหว้เจ้าที่ด้วยนะ และเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นควรจัดเวลาไว้เผื่อทำ TDD กันด้วยน้าาาา 5. งานที่ส่งมอบ ช่างแตกต่างจาก Requirement ตอนแรกเหลือเกิน ภาพจาก : www.tamingdata.com ในระหว่างการทำงานมีการแก้ไขไปมาเยอะมาก และหลังจากงานเสร็จก็มีแก้อีก เมื่อมานั่งดูงานหลังจากเสร็จเทียบกับ Requirement ตอนแรก ทำไมมันแตกต่างกันขนาดนี้ (แต่งบเท่าเดิมนะ T^T) 6. โปรแกรมเมอร์ พ่อทุกปลั๊ก หลายบริษัทมักจะคาดหวังสกิลโปรแกรมเมอร์มากกว่าปกติ โดยเฉพาะงานช่างอย่างซ่อมไฟ ซ่อมแอร์ โปรเจคเตอร์ไม่ติดก็เรียกโปรแกรมเมอร์ หรือบางที่ก็พ่วงตำแหน่ง IT Support ไปด้วย นั่นไม่ใช่งานในหน้าที่ และไม่ควรคาดหวังให้พวกเราทำได้ เรามาเพื่อเขียนโปรแกรมนะ อยากให้ทุกท่านเข้าใจงานที่แท้จริงโปรแกรเมอร์ด้วยจ้า 7. พกคอมไปด้วยตลอด ทุกที่คือที่ทำงาน หลายคนอาจจะอิจฉาเพราะมองว่าโปรแกรมเมอร์เป็นอาชีพที่ทำงานที่ไหนก็ได้ ขอแค่มีคอมพิวเตอร์ ซึ่งจริงๆ แล้วเราก็ไม่ได้อยากทำแบบนั้นหรอก เพราะการทำงานที่ไหนก็ได้ มันทำให้กลายเป็นว่าแก้งานที่ไหนก็ได้ด้วยน่ะสิ เมื่องานมีปัญหาเราก็ต้องแก้ทันทีถึงแม้ว่าจะเที่ยวอยู่ก็ตาม 8. อยากได้เว็บจองโรงแรมง่ายๆ คล้ายๆ Agoda อ่ะ ประโยคคลาสสิคที่เชื่อว่าทุกคนต้องเคยได้ยินกันมาแน่นอน พวกประมาณว่า อยากได้เว็บขายของง่ายๆ คล้าย Lazada หรือเว็บจองที่พักคล้ายๆ Agoda ซึ่งจริงๆ แล้วเว็บพวกนี้ดูเหมือนทำง่าย แต่ความจริงแล้วมีการจัดการหลังบ้านเยอะมาก เป็นเว็บที่มีมูลค่าหลายร้อยล้าน แต่ลูกค้ามีงบสองหมื่นไรงี้ 9. นั่งแก้บั๊คใช้เวลานานเกือบเท่าเขียนใหม่ ความเศร้าเมื่อเราเจอบั๊คแล้วพบว่าต้องแก้งานใหม่เกือบหมด เพราะการแก้ไขมันมีผลกระทบแทบทั้งโปรแกรม จึงใช้เวลานานและบางทีก็มึนเพราะเขียนไว้นานจนจำโครงสร้างที่เขียนไว้ไม่ได้แล้ว ย้ำอีกครั้งว่าควรทำ TDD กันเสมอนะ 10. เอ๊ะ เมื่อกี้มันยังพังอยู่เลย ทำไมน้องเดินมาแล้วหายหล่ะ เคยไหมครับ ที่มีคนแจ้งบอกว่าโปรแกรมพังแล้วเรียกให้เราไปดูหน่อยมันพังแบบนี้ พอเราเดินไปปุ๊บดันหายกลับมาเป็นปกติเฉย เลยไม่รู้ว่าพังเพราะโปรแกรมหรือพังเพราะคนหรือไม่ได้พัง หรือ อาจจะมีสิ่งเล้นลับซ่อนอยู่ ก้อ เป็น ด้ายยยยยยย…..