Mango Zero

เมื่อมีสิทธิ์เลือกจบชีวิตอย่างสงบด้วยตัวเอง “10 ประเทศที่การการุณยฆาตถูกกฏหมาย”

“ผมพร้อมที่จะตาย ผมไม่กลัวตาย และผมจะอ้าแขนรับมัน เมื่อเวลานั้นมาถึง”คำพูดของคุณตานักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย เดวิด กู๊ดดอล วัย 104 ปี ในการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย เมื่อเดินทางไปยังคลินิกด้านการุณยฆาต ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เนื่องจากในประเทศออสเตรเลียยังไม่อนุญาตในเรื่องนี้ พร้อมความช่วยเหลือของแพทย์ด้วยวิธีการ PAS (Physician-Assisted Suicide) ก่อนจะเสียชีวิตอย่างสงบอย่างที่คุณตาผู้นี้ต้องการ

สำหรับการการุณยฆาต ยังคงเป็นข้อถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน ถึงการมีสิทธิ์ของมนุษย์ในการเลือกที่จะมีชีวิต หรือ เลือกที่จะจบชีวิต โดยเฉพาะในวงการแพทย์ที่การรักษาผู้ป่วยให้สุดความสามารถ เป็นสิ่งสำคัญของจรรยาบรรณที่ต้องยึดและปฏิบัติ หลายประเทศยังคงไม่ยอมรับในจุดนี้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่ก็มีบางประเทศที่ออกกฏหมายสำหรับผู้ป่วยที่สามารถเลือกจบชีวิตด้วยตัวเอง “10 ประเทศที่การการุณยฆาตถูกกฏหมาย”

การุณยฆาต (Euthanasia) คืออะไร

ความหมายของการุณยฆาต คือ การกระทำจงใจยุติชีวิตของบุคคลเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวด การยุติการรักษา หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ การทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยเจตนาโดยวิธีการที่ไม่รุนแรง ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์

ประเภทของการุณยฆาต

แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

10 ประเทศที่การุณยฆาตถูกกฏหมาย

สวิซเซอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์

ออสเตรเลีย

แคนาดา

เบลเยียม

โคลัมเบีย

อินเดีย

ลักเซมเบิร์ก

อเมริกา

ญี่ปุ่น

 

สำหรับประเทศไทย การให้ความช่วยเหลือจากแพทย์แบบเชิงรุก Active Euthanasia ยังคงเป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่การให้ความช่วยเหลือโดยการยุติการรักษาในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ ตามพรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12

“มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กําหนดในกฎกระทรวง

เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ ถือว่าการกระทํานั้นเป็น ความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง”

ที่มา therichest , newhealthguide ,wikipedia ,bangkokbiznews