“ผมพร้อมที่จะตาย ผมไม่กลัวตาย และผมจะอ้าแขนรับมัน เมื่อเวลานั้นมาถึง”คำพูดของคุณตานักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย เดวิด กู๊ดดอล วัย 104 ปี ในการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย เมื่อเดินทางไปยังคลินิกด้านการุณยฆาต ประเทศสวิซเซอร์แลนด์ เนื่องจากในประเทศออสเตรเลียยังไม่อนุญาตในเรื่องนี้ พร้อมความช่วยเหลือของแพทย์ด้วยวิธีการ PAS (Physician-Assisted Suicide) ก่อนจะเสียชีวิตอย่างสงบอย่างที่คุณตาผู้นี้ต้องการ สำหรับการการุณยฆาต ยังคงเป็นข้อถกเถียงอยู่ในปัจจุบัน ถึงการมีสิทธิ์ของมนุษย์ในการเลือกที่จะมีชีวิต หรือ เลือกที่จะจบชีวิต โดยเฉพาะในวงการแพทย์ที่การรักษาผู้ป่วยให้สุดความสามารถ เป็นสิ่งสำคัญของจรรยาบรรณที่ต้องยึดและปฏิบัติ หลายประเทศยังคงไม่ยอมรับในจุดนี้ เป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่ก็มีบางประเทศที่ออกกฏหมายสำหรับผู้ป่วยที่สามารถเลือกจบชีวิตด้วยตัวเอง “10 ประเทศที่การการุณยฆาตถูกกฏหมาย” การุณยฆาต (Euthanasia) คืออะไร ความหมายของการุณยฆาต คือ การกระทำจงใจยุติชีวิตของบุคคลเพื่อช่วยบรรเทาความทุกข์ทรมานหรือความเจ็บปวด การยุติการรักษา หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ การทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยเจตนาโดยวิธีการที่ไม่รุนแรง ซึ่งจะได้รับการช่วยเหลือจากแพทย์ ประเภทของการุณยฆาต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท การการุณยฆาตเชิงรุก (Active Euthanasia) กระทำโดยการให้สารหรือวัตถุใด ๆ อันเร่งให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ซึ่งวิธีนี้เป็นที่ถกเถียงอยู่ในปัจจุบันเช่นกัน การุณยฆาตเชิงรับ (Passive Euthanasia) กระทำโดยการยุติการรักษาให้แก่ผู้ป่วย วิธีนี้ได้รับการยอมรับมากที่สุดและเป็นที่ปฏิบัติกันในสถานพยาบาลหลายแห่ง 10 ประเทศที่การุณยฆาตถูกกฏหมาย สวิซเซอร์แลนด์ สำหรับประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ถือเป็นประเทศที่มีกฏหมายอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถจบชีวิตของตัวเองด้วยความช่วยเหลือของแพทย์ ในวิธีแบบเชิงรุก (Active Euthanasia) นับตั้งแต่ปี 1942 ซึ่งเป็นประเทศเดียวที่มีสถาบันให้ความช่วยเหลือทางด้านการุณยฆาตสำหรับคนต่างชาติ แต่การกระทำของผู้ป่วยต้องไม่เป็นไปตามความเห็นแก่ตัวและทิ้งภาระต่างๆไว้กับคนที่อยู่เบื้องหลัง โดยก่อนการทำการุณยฆาตต้องดำเนินเรื่องราวมายังสถาบัน และได้รับการอนุญาตจากสถาบันอีกทีหนึ่งก่อน เรียกว่า สัญญาณไฟเขียว ต้องได้รับการตรวจสอบจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงญาติพี่น้องต้องได้รับทราบเรื่องดังกล่าวก่อนเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับประเทศนี้ขึ้นชื่อว่าเป็น ประเทศที่นักท่องเที่ยวมาเพื่อจากไปอย่างสงบ โดยวิธีนี้ส่วนใหญ่เป็นคน เยอรมันนี และ สวิซเซอร์แลนด์ ส่วนชาวต่างชาติจาก ฝรั่งเศส อังกฤษ ออสเตรีย อิตาลี กรีซ อิสลาเอล อเมริกา และ ประเทศอื่นๆ อายุเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ที่ 69 ปี กระทำโดยฉีดสารโซเดียวเพนโทบาร์บิทอล (Pentobarbital) หรือในชื่อ เนมบูทอล (Nembutal) เข้าสู่กระแสเลือด โดยมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้ผ่อนคลาย จิตใจสงบ และกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกในโลกที่การุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ได้มีการออกกฎหมายอย่างเป็นทางการในปี 2545 ทำได้ในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป ใช้เฉพาะกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน นอกจากนี้ผู้ป่วยจะต้องสามารถควบคุมความสามารถทางสติปัญญาได้อย่างเต็มที่เมื่อพวกเขาขอการการุณยฆาตจากแพทย์ หลังจากการตายของผู้ป่วยคณะกรรมการประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจริยธรรมทางการแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ตรวจสอบตาม case by case ซึ่งเป็นเวลากว่า 20 ปีแล้วที่ศาลเนเธอร์แลนด์ยังไม่ได้ดำเนินการฟ้องร้องแพทย์ที่ช่วยให้ทำการุณยฆาต ออสเตรเลีย การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ ยังเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของประเทศออสเตรเลีย แต่เมื่อไม่นานมานี้ รัฐวิกตอเรีย ของออสเตรเลียเท่านั้น ที่ผ่านร่างกฏหมายดังกล่าวในช่วงปี 2017 ที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ในเดือน มิถุนายน ปี 2019 ซึ่งนั้นเป็นสาเหตุที่คุณตากู๊ดดอล ตัดสินใจเดินทางไปสวิซเวอร์แลนด์เพื่อจบชีวิตอย่างสงบด้วยตัวเอง การได้รับอนุญาตต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย ที่คาดว่าจะเสียชีวิตในอีก 6 เดือนโดยเฉลี่ย แคนาดา การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ หรือ ที่เรียกว่า Physician-Assisted Suicide วุฒิสภาแคนาดาออกกฎหมายการุณยฆาต ที่อนุญาตให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายจบชีวิตตัวเองโดยอาศัยความช่วยเหลือของแพทย์ได้ รภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ผลักดันร่างกฎหมายนี้ ตั้งแต่ปี 2016 โดยต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และต้องเป็นผู้ป่วยที่รักษาในระยะสุดท้าย เพื่อป้องกันนักท่องเที่ยวเดินทางมาจบชีวิต แคนาดาจึงต้องเป็นผู้ที่มีประกันสุขภาพของแคนาดาเท่านั้น จึงสามารถรับบริการได้ เบลเยียม เบลเยียมเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกฎหมายอนุญาตและบังคับตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2545 กฎหมายระบุว่าแพทย์และนักจิตวิทยาต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการหากความสามารถของผู้ป่วยมีข้อสงสัย การทำการจบชีวิตด้วยแพทย์ ผู้ป่วยและแพทย์ตัดสินใจร่วมกันเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อยุติชีวิตของผู้ป่วย โคลัมเบีย โคลัมเบีย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2553 ศาลรัฐธรรมนูญโคลัมเบียได้กำหนดว่าต้องเป็นผู้ป่วย”ป่วยหนัก” เป็นบุคคลที่มีภาวะเช่นโรคเอดส์ ไตวายล้มเหลวของมะเร็งตับและภาวะขั้วอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับความทุกข์ทรมานมาก และกฎหมายอนุญาตการุณยฆาตในโคลัมเบียไม่อนุญาตให้มีเจตนายุติชีวิตผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมานจากโรคความเสื่อมเช่นโรคอัลไซเมอร์ และ โรคพาร์กินสัน เป็นต้น อินเดีย อินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่การการุณยฆาตเป็นกฎหมาย แต่ยอมรับว่าในเชิงรับ ยุติการรักษาแก่ผู้ป่วย ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Passive Euthanasia) เท่านั้น กฎหมายฉบับนี้ได้รับการอนุมัติโดยศาลฎีกาแห่งอินเดียในปีพ. ศ. 2554 การยุติชีวิตในเชิงรุก การเร่งให้เสียชีวิต (Active Euthanasia) ยังเป็นสิ่งผิดกฏหมายในประเทศนี้อยู่ ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่สามในสหภาพยุโรปที่การการุณยฆาตถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้แพทย์สามารถยุติการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในระยะสุดท้ายได้ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การตัดสินใจดังกล่าวได้รับการอนุมัติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญและแพทย์สองคน อเมริกา จำกัดได้เพียง 5 รัฐในอเมริกาเท่านั้นที่กฏหมายอนุญาต ซึ่งเป็นการการุณยฆาตในรูปแบบเชิงรับ Passive Euthanasia เท่านั้น โอเรกอน (Oregon) การจบชีวิตโดยความช่วยเหลือจากแพทย์ ถูกกฏหมายภายใต้องค์กร Death with Dignity (DWD) ในปี 1997 โดยอนุญาตแก่ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือไม่มีหนทางรักษา โดยต้องมีการทำจดหมายและมีพยานในการกระทำสิ่งนี้ แพทย์ทั้งสองคนต้องเห็นด้วยในโรคและความสามารถในการมีชีวิตของผู้ป่วย วอชิงตัน (Washington) เป็นรัฐที่สองต่อจากรัฐโอเรกอนที่อนุญาต กฏหมายในรัฐนี้คล้ายกับรัฐโอเรกอน โดยต้องมีจดหมายเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องเป็นผู้ป่วยในระยะสุดท้าย โดยมีอายุขัยเฉลี่ยไม่เกิน 6 เดือน มอนตานา (Montana) ในเดือนธันวาคม ปี 2009 ศาลปกครอง อนุญาตให้การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ถูกกฏหมาย โดยแพทย์จะทำการสั่งยา และผู้ป่วยจะเป็นคนจัดการด้วยตนเอง เวอร์มอนต์ (Vermont) ในปี 2013 อนุญาตให้การจบชีวิตโดยการช่วยเหลือของแพทย์ถูกกฏหมาย แต่ต้องมีคำขอร้องจากผู้ป่วยปากเปล่า 2 ครั้ง และ จดหมายเพื่อเป็นลายลักษณ์อีก 1 ฉบับ แคลิฟอร์เนีย (California) อนุญาตให้มีการช่วยเหลือโดยแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยการยุติการใช้ชีวิต (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2016) แต่ต้องผู้ป่วยคาดว่าจะเสียชีวิตภายใน 6 เดือนหรือน้อยกว่า นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้ป่วยส่งคำขอร้องปากเปล่า 2 ครั้ง และ จดหมายเพื่อเป็นลายลักษณ์อีก 1 ฉบับ ญี่ปุ่น รัฐบาลญี่ปุ่นออกกฏหมายที่การจบชีวิตเชิงรุก และ แบบเชิงรับถูกกฏหมาย โดยรวมแล้วต้องเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใกล้จะเสียชีวิต หรือ ไม่มีหนทางรักษา ผู้ป่วยต้องได้รับการอนุญาตจากแพทย์ ครอบครัว แพทย์ต้องหมดหนทางรักษาอย่างแท้จริง สำหรับประเทศไทย การให้ความช่วยเหลือจากแพทย์แบบเชิงรุก Active Euthanasia ยังคงเป็นสิ่งผิดกฏหมาย แต่การให้ความช่วยเหลือโดยการยุติการรักษาในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ยอมรับกันได้ ตามพรบ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 “มาตรา ๑๒ บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่ เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ การดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กําหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ ถือว่าการกระทํานั้นเป็น ความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง” ที่มา therichest , newhealthguide ,wikipedia ,bangkokbiznews